วันพฤหัสบดีที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2561

สนธิสัญญาไซเตส



อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (อังกฤษConvention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora) หรือเรียกโดยย่อว่า ไซเตส (CITES) และเป็นที่รู้จักในชื่อ อนุสัญญากรุงวอชิงตัน(Washington Convention) เป็นสนธิสัญญาซึ่งเริ่มใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2518
ในปี พ.ศ. 2516 สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN) ได้จัดการประชุมนานาชาติขึ้นที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เพื่อร่างอนุสัญญาดังกล่าว มีผู้เข้าร่วมประชุม 88 ประเทศ แต่มีผู้ลงนามรับรองอนุสัญญาฉบับนี้ทันทีเพียง 22 ประเทศ สำหรับประเทศไทยได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมด้วย แต่มาลงนามรับรองอนุสัญญาในปี พ.ศ. 2518 และให้สัตยาบันในวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2526 นับเป็นสมาชิกลำดับที่ 80 ปัจจุบัน ไซเตสมีภาคีทั้งสิ้น 181 รัฐ (ณ พฤษภาคม 2558)
เป้าหมายของไซเตส คือ การอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่าและพืชที่ใกล้จะสูญพันธุ์หรือถูกคุกคาม ทำให้ปริมาณร่อยหรอจนอาจเป็นเหตุให้สูญพันธุ์ วิธีการอนุรักษ์กระทำโดยการสร้างเครือข่ายทั่วโลกในการควบคุมการค้าระหว่างประเทศ(International Trade) ทั้งสัตว์ป่า พืชป่า และผลิตภัณฑ์ ไซเตสไม่ควบคุมการค้าภายในประเทศสำหรับชนิดพันธุ์ท้องถิ่น (Native Species)
การค้าสัตว์ป่า พืชป่า และผลิตภัณฑ์ระหว่างประเทศ จะถูกควบคุมโดยระบบใบอนุญาต (Permit) ซึ่งสัตว์ป่าและพืชป่าที่อนุสัญญาควบคุมจะต้องมีใบอนุญาตในการนำเข้า (Import) ส่งออก (Export) นำผ่าน (Transit) และส่งกลับออกไป (Re-Export) โดยชนิดพันธุ์ของสัตว์ป่าและพืชป่าที่อนุสัญญาควบคุม จะระบุไว้ในบัญชีหมายเลข 1, 2, 3 (Appendix I, II, III) ของอนุสัญญา โดยได้กำหนดหลักการไว้ดังนี้

- จุดประสงค์ของ CITES

การอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่าและพืชป่าในโลก เพื่อประโยชน์แห่งมวลมนุษย์ชาติโดยเน้นทรัพยากรสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์หรือมีการคุกคาม ทำให้มีปริมาณร่อยหรอจนอาจเป็นเหตุให้สูญพันธุ์ วิธีการอนุรักษ์ของ CITES ก็คือ การสร้างเครือข่ายทั่วโลกในการควบคุมการค้าระหว่างประเทศ ( International Trade ) ทั้งสัตว์ป่า พืชป่าและผลิตภัณฑ์ แต่ไม่ควบคุมการค้าภายในประเทศ สำหรับชนิดพันธุ์อื่นๆ (Native Species)

หน้าที่ของสมาชิก CITES

1.สมาชิกต้องกำหนดมาตราการในการบังคับใช้อนุสัญญา CITES มิให้มีการค้าสัตว์ป่า พืชป่าที่ผิดระเบียบอนุสัญญาฯ โดยมีมาตรการลงโทษผู้ค้า ผู้ครอบครอง ริบของกลางและส่งของกลางกลับแหล่งกำเนิด กรณีที่ทราบถึงถิ่นกำเนิด
            2. ต้องตั้งด่านตรวจสัตว์ป่า พืชป่าระหว่างประเทศ เพื่อควบคุมและตรวจสอบการค้าสัตว์ป่า พืชป่า และการขนส่งที่ปลอดภัยตามระเบียบอนุสัญญา CITES
            3.ต้องส่งรายงานประจำปี ( Annual Report ) เกี่ยวกับสถิติการค้าสัตว์ป่า พืชป่าของประเทศตนแกสำนักงานเลขาธิการ CITES
            4. ต้องจัดตั้งคณะทำงานฝ่ายปฏิบัติการ ( Management Authority ) และคณะทำงานฝ่ายวิทยาการ ( Scientific Authority )  ประจำประเทศ เพื่อควบคุมการค้าสัตว์ป่า พืชป่า
             5. มีสิทธิ์เสนอขอเปลี่ยนแปลงชนิดพันธุ์ในบัญชี Appendix I-II-III ให้ภาคีพิจารณา

- ระบบการควบคุมของ CITES

การค้าสัตว์ป่า พืชป่าและผลิตภัณฑ์ระหว่างประเทศจะถูกควบคุมโดยระบบใบอนุญาต ( Permit ) ซึ่งหมายถึงว่า สัตว์ป่าและพืชป่าที่ CITES ควบคุมต้องมีใบอนุญาตในการ
1. นำเข้า ( Import )
2. ส่งออก ( Export )
3. นำผ่าน ( Transit )
4. ส่งกลับออกไป ( Re-export )


วันอาทิตย์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2561

สนธิสัญญารีโอเดจาเนโร



รีโอเดจาเนโร (โปรตุเกสRio de Janeiroเสียงอ่านภาษาอังกฤษ: /ˈriːoʊ deɪ dʒəˈnɛəroʊ/) หรือ รีอูจีฌาเนย์รู (เสียงอ่านภาษาโปรตุเกสสำเนียงบราซิล: [ˈʁi.u dʒi ʒaˈnejɾu]) มีความหมายว่า "แม่น้ำเดือนมกราคม") หรือมักเรียกโดยย่อว่า รีโอ (Rio) เป็นเมืองหลวงของรัฐรีโอเดจาเนโร ประเทศบราซิล โดยเป็นเมืองที่กล่าวขานกันว่างดงามที่สุดแห่งหนึ่งในโลก และเป็นที่รู้จักในด้านการท่องเที่ยว โดยเฉพาะชายหาดกอปากาบานา (Copacabana) และอีปาเนมา (Ipanema) เทศกาลรื่นเริงประจำปีของบราซิล และรูปปั้นพระเยซูขนาดใหญ่ที่รู้จักในชื่อ กริชตูเรเดงโตร์ บนยอดเขากอร์โกวาดู
รีโอเดจาเนโรตั้งอยู่ที่ละติจูด 22 องศา 54 ลิปดาใต้ และลองจิจูด 43 องศา 14 ลิปดาตะวันตก ((6,150,000) 22°54′S 43°14′W) รีโอมีประชากรประมาณ 6,150,000 (พ.ศ. 2547) และพื้นที่ 1,256 กม² (485 ไมล์²) และเป็นเมืองใหญ่อันดับสองของประเทศบราซิลรองจากเซาเปาลู (São Paulo) รีโอเป็นเมืองหลวงเก่าของประเทศบราซิล ก่อนที่เมืองบราซิเลียจะเป็นเมืองหลวงในปี พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960)
รีโอเดจาเนโรได้รับเลือกจากคณะกรรมการโอลิมปิกสากล ให้เป็นเมืองเจ้าภาพในการจัดการแข่งขันมหกรรมกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 31 ประจำปีคริสต์ศักราช 2016 (พ.ศ. 2559) ซึ่งเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่จะจัดขึ้นในเขตทวีปอเมริกาใต้นับตั้งแต่มีการริเริ่มแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเป็นต้นมา





สนธิสัญญาRio (รีโอเดจาเนโร)


ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกซึ่งก่อให้เกิดผลร้ายต่อมนุษย์ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศดังกล่าว ส่วนใหญ่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ก่อให้เกิดก๊าซซึ่งไปเพิ่มปฏิกิริยาเรือนกระจก (Green House Effect) ในชั้นบรรยากาศ ที่ทำให้ความหนาแน่นของก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศเพิ่มมากขึ้นจากที่มีอยู่แล้วในธรรมชาติเป็นอย่างมาก ผลของก๊าซเรือนกระจกดังกล่าวจะทำให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้นหรือที่เรียกกันว่า “ภาวะโลกร้อน” ทั้งที่ผิวโลกและในบรรยากาศ เป็นเหตุให้โลกร้อนขึ้นและน้ำแข็งขั้วโลกละลาย ระดับน้ำทะเลจะสูงขึ้นและท่วมบริเวณที่ต่ำ ชายฝั่งทะเล ภูมิอากาศจะแปรเปลี่ยนไปด้วย อุณหภูมิที่สูงขึ้นดังกล่าวจะส่งผลกระทบระบบนิเวศทางธรรมชาติและต่อมวลมนุษย์ด้วย การปล่อยก๊าซเรือนกระจกส่วนใหญ่มาจากในประเทศที่พัฒนาแล้ว ในขณะที่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศกำลังพัฒนายังถือว่าอยู่ในเกณฑ์ต่ำแต่ก็มีแนวโน้มสูงขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการด้านสังคมและการพัฒนาของตน ประเทศต่าง ๆ จึงควรร่วมมือแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยการควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่อากาศและกำจัดก๊าซบางชนิดให้ลดลง

เนื่องจากมีความไม่แน่นอนหลายประการในการคาดการณ์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับช่วงเวลา ปริมาณ และรูปแบบของการเปลี่ยนแปลง และด้วยลักษณะของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นทั่วโลก ความร่วมมือของรัฐทั้งปวงเท่าที่จะเป็นไปได้และการมีส่วนร่วมของรัฐเหล่านั้นในการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระดับระหว่างประเทศตามความรับผิดชอบและขีดความสามารถของตนจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ทุกประเทศจึงควรให้ข้อมูลที่เกี่ยวกับปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและความสามารถของแหล่งรองรับในประเทศ รายงานเกี่ยวกับแผนการควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการปรับตัวให้เข้ากับสภาพการเปลี่ยนแปลง สนับสนุนการจัดการและอนุรักษ์แหล่งรองรับก๊าซเรือนกระจก วางแผนรองรับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น และให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ประเทศที่พัฒนาแล้วควรช่วยประเทศที่กำลังพัฒนาให้มีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน เพื่อให้ประเทศสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ
จากปัญหาดังกล่าวองค์การสหประชาชาติโดยโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme: UNEP) ร่วมกับองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization: WMO) ได้จัดตั้งคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change: IPCC) ขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1988 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และเพื่อเตรียมมาตรการและกลยุทธ์ที่เป็นไปได้ในการบริหารจัดการที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยในปี ค.ศ. 1990 IPCC ได้จัดทำรายงานที่มีข้อสรุปยืนยันว่ากิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ส่งผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศจริง ประกอบกับในปีนั้นได้มีการจัดการประชุม Second World Climate Conference ขึ้น จึงทำให้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจของนานาประเทศ[1] จึงริเริ่มและดำเนินการเพื่อจัดทำกรอบอนุสัญญาฉบับนี้ ซึ่งได้สานต่อหลักการสำคัญ ๆ ของปฏิญญากรุงสต๊อกโฮล์มว่าด้วยสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ ค.ศ. 1972 เช่น การรับรองสิทธิอธิปไตยของรัฐตามกฎบัตรสหประชาชาติและตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศในการแสวงประโยชน์จากทรัพยากรตามนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมของตน และกำหนดให้รัฐต้องมีความรับผิดชอบที่จะทำให้แน่ใจว่ากิจกรรมภายในเขตอำนาจหรือการควบคุมของตนไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมของรัฐอื่นหรือของบริเวณที่อยู่เลยออกไปจากเขตอำนาจแห่งชาติของตน[2] และการปล่อยสารพิษหรือสารอื่นๆ และความร้อนในปริมาณหรือความหนาแน่นที่เกินกว่าขีดความสามารถของสิ่งแวดล้อมที่จะจัดการได้ ต้องหยุดกระทำเพื่อให้แน่ใจว่าความเสียหายร้ายแรงและที่ไม่สามารถแก้ไขได้จะไม่เกิดต่อระบบนิเวศ[3] เป็นต้น
กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ค.ศ. 1992 (United Nations Framework Convention on Climate Change, 1992 : UNFCCC) ได้รับการยอมรับในการประชุมที่สำนักงานใหญ่ขององค์การสหประชาชาติ กรุงนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 และเปิดให้ลงนามในการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา (United Nations Conference on Environment and Development) หรือการประชุมสุดยอดว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา ที่กรุงริโอ เด จาเนโร (Rio de Janeiro Earth Summit) สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2535 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2537
ประเทศไทยได้ลงนามในกรอบอนุสัญญา ฯ เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2535 ณ นครรีโอเดจาเนโร สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล และให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาฯ เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2537 และตามข้อ 23 วรรค 2 ของอนุสัญญา ฯ ซึ่งจะมีผลใช้บังคับต่อประเทศไทยเมื่อพ้น 90 วันนับแต่วันที่มอบสัตยาบันสาร ดังนั้น อนุสัญญา ฯ จึงมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2538 [4]สถานะของประเทศไทยตามอนุสัญญาฉบับนี้อยู่ในฐานะกลุ่มประเทศนอกภาคผนวกที่ 1 (Non-Annex I) ปัจจุบันอนุสัญญาฯ นี้มีประเทศภาคี
สมาชิกจำนวน 192 ประเทศ[5]--------------------------------------

Cr. วิกิพีเดีย

[1] “ที่มาของกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ,” สืบค้นเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2557, จาก http://www.eppo.go.th/ccep/unfccc_intro.html

[2] หลักการ 21

[3] หลักการ 6

[4] ข้อมูล ณ วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2556 จาก

http://reo06.mnre.go.th/newweb/images/file/report2555/carbon_market

http://www.tgo.or.th/download/Article/KM/km_unfccc.pdf

http://www.tgo.or.th/download/publication/CI/CI_Summary_25102012.pdf

[5] ข้อมูล ณ วันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556 จาก

http://unfccc.int/parties_and_observers/items/2704.php





สนธิสัญญาโรม


สนธิสัญญาโรม มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สนธิสัญญาจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจยุโรป เป็นความตกลงระหว่างประเทศซึ่งนำไปสู่การก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจยุโรปในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1958 มีการลงนามเมื่อวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1957 โดยเบลเยียม ฝรั่งเศส อิตาลี ลักเซมเบิร์กเนเธอร์แลนด์และเยอรมนีตะวันตก คำว่า "เศรษฐกิจ" ถูกลบออกจากชื่อสนธิสัญญา โดยสนธิสัญญามาสตริกต์ ใน ค.ศ. 1993 และสนธิสัญญาดังกล่าวเปลี่ยนใหม่เป็นสนธิสัญญาว่าด้วยการทำหน้าที่ของสหภาพยุโรป เมื่อสนธิสัญญาลิสบอนมามีผลใช้บังคับใน ค.ศ. 2009
ประชาคมเศรษฐกิจยุโรปเสนอให้ค่อยๆ ปรับภาษีศุลกากรลดลง และจัดตั้งสหภาพศุลกากร มีการเสนอใช้จัดตั้งตลาดร่วมสินค้า แรงงาน บริการและทุนภายในรัฐสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจยุโรป และยังได้เสนอให้จัดตั้งนโยบายการขนส่งและเกษตรร่วมและกองทุนสังคมยุโรป สนธิสัญญายังได้ก่อตั้งคณะกรรมาธิการยุโรป

สนธิสัญญาปารีส🗼

สนธิสัญญาปารีส อาจหมายถึง ความตกลงหลายฉบับที่เจรจาและลงนามกันในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เป็นต้นว่า

ภูเขาไฟบาตูร์

ภูเขาไฟบาตูร์ (Batur) เกิดขึ้นหลังจากการยุบตัวของภูเขาไฟลูกใหญ่ แล้วก่อเกิดเป็นภูเขาไฟบาตูร์อยู่ตรงกลาง และมีทะเลสาบบาตูร์เกิดขึ้นใกล้ๆภูเขา...