วันพุธที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

วิธีการทำเฟรนช์โทสต์

French Recipes / อาหารฝรั่งเศส

31ธ.ค.


เฟรนช์โทสต์ : French Toast



เครื่องปรุง

ขนมปังฝรั่งเศส หั่นหนาขนาด 1/2 นิ้ว 5 แผ่นนมสด 1 ถ.ไข่ไก่ขนาดใหญ่ 2 ฟองวานิลา 1 ชช.เกลือ 1/8 ชช.

ขั้นตอนการทำเตรียมกระทะที่สามารถนำเข้าเตาอบได้ทันที ถ้าไม่มีก็ไม่เป็นไร ทอดแล้วตักใส่ถาดนำเข้าเตาอบได้ค่ะ– เปิดเตาอบไว้ที่ 350 องศาฟาเรนไฮต์– ผสมนม ไข่ วานิลา เกลือเข้าด้วยกันในชามใบใหญ่– นำขนมปังที่หั่นสไลด์ไว้มาจุ่มแช่ในอ่างส่วนผสมนม กลับด้านขนมปัง แช่ให้ขนมปังชุ่มไปทั่วทั้งแผ่น ขนมปังดูดส่วนผสมนมไปจนหมด กลับด้านให้ขนมปังแช่ส่วนผสมนมจนชุ่มทั้งสองด้าน– นำกระทะตั้งบนเตา ทาเนยให้ทั่วกระทะ เปิดไฟปานกลาง– เมื่อกระทะร้อนได้ที่ ให้นำขนมปังที่ชุ่มๆมาทอดในกระทะ ทอดไปจนขนมปังสีเหลืองสวยกลับด้านทอดอีกด้านให้เหลืองสวยเหมือนกัน ทอดเสร็จให้นำเข้าอบในเตาอบนาน 8-10 นาทีราดน้ำเชื่อมเพิ่มเท่านี้ก็จะได้เฟรนช์โทสต์หอมอร่อยหมายเหตุ อาจใช้ขนมปังโฮสวีต ขนมปังแถว หรือขนมปังเปีย แทนก็ได้

วันพุธที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ยูโรโซน

ยูโรโซน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Jump to navigationJump to search
ประเทศยูโรโซน
  ประเทศยูโรโซน
  ประเทศนอกยูโรโซนที่ใช้เงินสกุลยูโร
ยูโรโซน หรือเรียกอย่างเป็นทางการว่า พื้นที่ยูโร[1] เป็นสหภาพเศรษฐกิจและการเงิน ประกอบด้วยรัฐสมาชิกสหภาพยุโรป 19 รัฐ (ณ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558) ซึ่งใช้เงินสกุลยูโรเป็นสกุลเงินร่วม และเป็นเงินสกุลเดียวที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย ยูโรโซนปัจจุบันประกอบด้วยออสเตรีย เบลเยียมไซปรัส เอสโตเนีย ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซไอร์แลนด์ อิตาลี ลิทัวเนีย ลักเซมเบิร์ก ลัตเวียมอลตา เนเธอร์แลนด์ โปรตุเกส สโลวาเกีย สโลวีเนีย และสเปน รัฐสหภาพยุโรปอื่นส่วนใหญ่ถูกผูกมัดให้เข้าร่วมเมื่อรัฐนั้นผ่านเกณฑ์การเข้าร่วม ไม่มีรัฐใดออกจากกลุ่มและไม่มีข้อกำหนดในการออกหรือขับสมาชิกออก
นโยบายการเงินของโซนเป็นความรับผิดชอบของธนาคารกลางยุโรป ซึ่งควบคุมโดยประธานและคณะกรรมการหัวหน้าธนาคารกลางแห่งชาติ งานหลักของธนาคารกลางยุโรปคือ รักษาเงินเฟ้อให้อยู่ภายใต้การควบคุมแม้ไม่มีการเป็นผู้แทนร่วม วิธีการปกครองหรือนโยบายการคลังของสหภาพการเงิน มีการร่วมมือเกิดขึ้นบ้างผ่านกลุ่มยูโร ซึ่งดำเนินการตัดสินใจทางการเมืองเกี่ยวข้องกับยูโรโซนและสกุลเงินยูโร กลุ่มยูโรประกอบด้วยรัฐมนตรีคลังของรัฐสมาชิกยูโรโซน อย่างไรก็ดี ในสถานการณ์ฉุกเฉิน ผู้นำแห่งชาติอาจตั้งกลุ่มยูโรได้เช่นกัน
นับแต่วิกฤตการณ์การเงินปลายปี พ.ศ. 2543 ยูโรโซนได้ตั้งและใช้ข้อกำหนดสำหรับการให้เงินกู้ยืมฉุกเฉินแก่รัฐสมาชิกโดยแลกกับการตรากฎหมายปฏิรูปเศรษฐกิจ ยูโรโซนยังบัญญัติการบูรณาการการคลังบ้าง ตัวอย่างเช่น ในการกลั่นกรองงบประมาณแห่งชาติของประเทศอื่น ปัญหานี้เกี่ยวกับการเมืองอย่างสูงและในสภาพการไหลจนถึง พ.ศ. 2554 ในแง่ของข้อกำหนดเพิ่มเติมจะมีการตกลงสำหรับการปฏิรูปยูโรโซน
ในโอกาสที่ยูโรโซนขยายไปครอบคลุมสมาชิกที่ไม่ได้อยู่ในสหภาพยุโรป แต่ใช้เงินยูโรเป็นสกุลเงินทางการ บางประเทศเหล่านี้ อย่างซานมารีโน ได้สรุปความตกลงอย่างเป็นทางการกับสหภาพยุโรปในการใช้สกุลเงินและผลิตเหรียญกษาปณ์ของตนเอง[2] ประเทศอื่น เช่น คอซอวอและมอนเตเนโกร รับเงินยูโรฝ่ายเดียว อย่างไรก็ดี ประเทศเหล่านี้มิได้นับรวมเป็นส่วนหนึ่งของยูโรโซนอย่างเป็นทางการ และไม่มีผู้แทนในธนาคารกลางยุโรปหรือกลุ่มยูโร

สนธิสัญญามาสทริชต์ (Maastricht Treaty)


 มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยมซึ่งสนธิสัญญามาสทริชท์ เป็นสนธิสัญญาระหว่างกลุ่มประเทศประชาคมยุโรป เพื่อการรวมกันเป็นสหภาพทางเศรษฐกิจ และการเงินตามเป้าหมายขั้นที่สาม คือ การใช้เงินตราสกุลเดียว มีธนาคารกลางร่วมกัน การกำหนดนโยบายต่างประเทศ และนโยบายสังคมร่วมกัน รวมถึงการจัดระบบความร่วมมือทางทหาร ตำรวจ การรับรองกฎบัตรสิทธิมนุษยชน
โดยการพัฒนาการเงินสามขั้นตอน คือ

1)ให้มีการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรี โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2533
2)ให้มีการจัดตั้งสถาบันการเงินแห่งยุโรป และธนาคารกลางยุโรป โดยให้เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2537
3)ให้มีการใช้เงินสกุลเดียวกัน ภายในปี พ.ศ.2540 หรืออย่างช้าไม่เกิน พ.ศ.2542

Brexit

                                                                      Brexit

ระยะหลังๆ เราคงได้ยินคำว่า Brexit กันบ่อยขึ้น และน่าจะบ่อยขึ้นอีกเมื่อใกล้วันลงประชามติ Brexit ในวันที่ 23 มิถุนายน และโพลล่าสุดยังบอกว่ายังไม่แน่ว่าใครจะชนะ
Brexit คืออะไร และจะมีผลกับการเมืองและเศรษฐกิจโลกอย่างไร หลายฝ่ายบอกว่านี่คือความเสี่ยงของเศรษฐกิจโลกเลยทีเดียว
เมื่อสองสามปีก่อน คำว่า Grexit (Greece+Exit คือความเสี่ยงที่กรีซอาจจะต้องออกจากยูโรโซน) เป็นความเสี่ยงที่สำคัญ และพูดถึงกันค่อนข้างมาก แต่มาในวันนี้ Brexit กลายเป็นประเด็นสำคัญที่ไม่พูดถึงกันไม่ได้แล้ว

อะไรเป็นอะไร

Brexit มาจากคำว่า Britain+Exit คือความเสี่ยงที่สหราชอาณาจักร (United Kingdom หรือ Great Britain) หรือที่คนไทยมักจะเรียกกันว่า “อังกฤษ” (England) จนเคยชิน อาจจะออกจากสหภาพยุโรป (European Union)
ทำความเข้าใจกันนิดหนึ่งก่อนนะครับ ว่าสหราชอาณาจักรเป็นประเทศที่มีประเทศอยู่ภายในประเทศอีกที คือประกอบไปด้วย อังกฤษ เวลส์ สกอตแลนด์ และไอร์แลนด์เหนือ (สังเกตว่าเวลาพูดถึงประเทศทางการเมืองและเศรษฐกิจ คนส่วนใหญ่จะใช้ United Kingdom กันตลอดเวลา แต่แข่งฟุตบอลโลกรอบคัดเลือกทีไร เห็นมีเข้าแข่งกันสามสี่ทีมเลย)
และสหราชอาณาจักรเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป แต่ไม่ได้เป็นสมาชิกของกลุ่มประเทศที่ใช้เงินยูโร (งงหรือยังครับ)
ยุโรป

สหภาพยุโรป

สหภาพยุโรป เป็นสหภาพทางเศรษฐกิจและการเมือง (politico-economic union) ที่ประกอบไปด้วยประเทศสมาชิกในยุโรป 28 ประเทศ มีขนาดของตลาดในแง่ GDP ใหญ่ที่สุดในโลก (พอๆ กับสหรัฐอเมริกา) แต่ก็มีบางประเทศในยุโรปที่ไม่ได้เป็นสมาชิกสหภาพยุโรป เช่น นอร์เวย์ สวิตเซอร์แลนด์
และสหภาพยุโรปเป็นมากกว่าเขตการค้าเสรีหรือ “customs union” เพราะไม่เพียงสินค้าและบริการจะสามารถเข้าออกประเทศสมาชิกได้อย่างเสรีแล้ว แรงงานและทุนก็สามารถเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศได้อย่างเสรี แปลว่าคนในประเทศสมาชิก สามารถเดินทางไปหางานในอีกประเทศได้ และทุนสามารถเคลื่อนย้ายกันได้อย่างเสรี
เพื่อทำให้เกิดสิ่งเหล่านี้ได้ สหภาพยุโรปจึงต้องมีอำนาจเหนือรัฐสมาชิกในการออกกฎหมายและระเบียบต่างๆ เพื่อควบคุมบางเรื่องให้สอดคล้องกันทั่วสหภาพยุโรป และบังคับใช้ได้ในทุกประเทศสมาชิก และสหภาพยุโรปมีสถาบันที่มีลักษณะเหมือนรัฐเหนือรัฐ เช่น มีรัฐสภายุโรป (European Parliament) และศาลยุติธรรมยุโรป (European Court of Justice) เพื่อออกกฎหมายและแก้ไขข้อพิพาทที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายของสหภาพยุโรป
นอกจากนี้ ยังมีหน้าที่คล้ายการคลังของรัฐเหนือรัฐ ในการเก็บเงินจากประเทศต่างๆ แล้วเอาไปกระจายให้กับประเทศสมาชิก
พวกอำนาจพวกนี้แหละครับ นำไปสู่คำถามว่า ไปลดอำนาจอธิปไตยของประเทศสมาชิกหรือเปล่า กฎระเบียบต่างๆ ของสหภาพยุโรปมีประโยชน์หรือกลายเป็นต้นทุนของรัฐกันแน่ และต้นทุนกับประโยชน์ของการเป็นสมาชิกนั้นอย่างไหนเยอะกว่ากัน และมันคุ้มกันหรือไม่
ประเด็นพวกนี้มีการพูดถึงกันมาตลอด แต่เริ่มเป็นประเด็นใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ เมื่อมีปัญหาผู้อพยพในยุโรป หลายคนที่อยากให้รัฐบาลออกกฎหมายควบคุมเขตแดนเพื่อลดจำนวนผู้อพยพ แต่ก็ทำไม่ได้เต็มที่เพราะไปขัดกับกฎของสหภาพยุโรป

แล้วทำไมต้องทำประชามติ

ประเด็นพวกนี้กลายเป็นประเด็นสำคัญทางการเมืองในสหราชอาณาจักรมากขึ้นเรื่อยๆ จนพรรคการเมืองพรรคหนึ่งที่มีนโยบายสนับสนุนให้สหราชอาณาจักรออกจากสหภาพยุโรป เริ่มได้คะแนนเสียงมากขึ้นเรื่อยๆ จนพรรคการเมืองหลักอย่างพรรคอนุรักษ์นิยม และพรรคแรงงาน เริ่มจะเก็บประเด็นนี้ไว้ใต้พรมไม่ได้
ในการเลือกตั้งเมื่อปีที่แล้ว David Cameron จึงประกาศว่า ถ้าชนะการเมืองตั้ง จะเอาประเด็นนี้มาให้ประชาชนโหวตตัดสินกันเลย และจะเจรจากับสหภาพยุโรป เพื่อปฏิรูปข้อกำหนดสหภาพยุโรป และขอเงื่อนไขที่ดีขึ้นต่อสหราชอาณาจักร
และเมื่อชนะการเลือกตั้ง David Cameron จึงต้องทำตามสัญญาจัดทำประชามติทั่วประเทศ จนกลายเป็นประเด็นร้อนแรง ที่มีทั้งฝ่ายสนับสนุนและฝ่ายคัดค้าน แม้ว่ารัฐบาลมีจุดยืนชัดเจนว่าสนับสนุนให้สหราชอาณาจักรอยู่ในสหภาพยุโรปต่อไป แม้แต่รัฐมนตรีในรัฐบาลเดียวกันยังเห็นไม่ตรงกัน และรัฐมนตรีบางคนเป็นแกนนำในการรณรงค์ให้ออกจากสหภาพยุโรปเสียด้วย (ไม่มีกฎหมายห้ามเหมือนบางประเทศนะครับ)

เหตุผลฝั่งสนับสนุนให้ออก

เหตุผลของฝั่งสนับสนุนดูจะเป็นเหตุผลด้านการเมืองเสียมาก ฝั่งสนับสนุนมองว่า การอยู่ในสภาพยุโรปมีโทษมากกว่าประโยชน์ โดยเฉพาะประเด็นอธิปไตย และการออกกฎหมาย (โดยเฉพาะจากกรณีผู้อพยพ) และเห็นว่ากฎระเบียบต่างๆ จากสหภาพยุโรปเป็นตัวฉุดรั้งเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักร ต้นทุนทางการคลังก็เสียไปเปล่าๆ
นอกจากนี้ ฝ่ายสนับสนุนเชื่อว่าต้นทุนการออกจากสหภาพยุโรปไม่น่าจะมาก เพราะยังไงน่าจะเจรจากันได้ และยุโรปก็ต้องพึ่งพาสหราชอาณาจักรเหมือนกัน

เหตุผลฝ่ายให้อยู่ต่อ

ฝ่ายที่อยากให้อยู่ต่อ กังวลว่าต้นทุนทางเศรษฐกิจของการออกจากสหภาพยุโรปอาจจะสูงมาก และความไม่แน่นอนหลักจากออกจากสหภาพยุโรปอาจจะมีสูงจนทำให้การลงทุนและเศรษฐกิจหยุดชะงักได้
เพราะไม่เคยมีใครออกจากสหภาพยุโรป จึงไม่รู้ว่าเงื่อนไขหลังจากออกจะเป็นอย่างไร สหราชอาณาจักรได้รับประโยชน์จากการเป็นศูนย์กลางการค้าและการลงทุนของยุโรป การค้าเป็นกว่าร้อยละ 60 ของเศรษฐกิจ และกว่าครึ่งเป็นการค้ากับสมาชิกในสหภาพยุโรป ที่ไม่มีกำแพงภาษีระหว่างกัน
ถ้าออกจากการเป็นสมาชิก นั่นอาจจะหมายความว่าสินค้าและบริการระหว่างสหราชอาณาจักร กับประเทศอื่นๆ ในสหภาพยุโรปอาจจะต้องมีภาษีนำเข้าระหว่างกัน สหภาพยุโรปจะยอมให้สหราชอาณาจักรได้ปรับประโยชน์เสมือนเป็นประเทศในเขตการเสรีหรือไม่ ถ้าให้จะต้องจ่ายด้วยอะไร แล้วการค้ากับประเทศอื่นๆ ที่สหภาพยุโรปมีข้อตกลงเขตการค้าเสรีแล้วล่ะ สหราชอาณาจักรต้องไปนั่งเจรจาทีละประเทศหรือเปล่า แล้วระหว่างนั้นการค้าจะเป็นอย่างไร
นอกจากนี้ สหราชอาณาจักรยังเป็นศูนย์กลางการลงทุนและศูนย์กลางทางการเงินของยุโรป เพราะได้ประโยชน์จากเงื่อนไขและกฎระเบียบที่ใช้เหมือนกัน ถ้าวันหนึ่งสหราชอาณาจักรออกจากการเป็นสหภาพยุโรป แล้วสหภาพยุโรปไม่ยอมรับระเบียบการดูแลสถาบันการเงินของสหราชอาณาจักรขึ้นมา จะเกิดอะไรขึ้นกับสถาบันการเงินที่ใช้ลอนดอนเป็นศูนย์กลาง
นอกจากนี้ ยังมีความเสี่ยงว่าสหราชอาณาจักรอาจจะแตกเป็นเสี่ยงๆ ถ้าออกจากสหภาพยุโรป เพราะไอร์แลนด์เหนือและสกอตแลนด์ที่มีทีท่าอยากแยกตัวจากสหราชอาณาจักรอยู่แล้ว อาจใช้เป็นเงื่อนไขในการทำประชามติอีกรอบ เพื่อจะอยู่ต่อกับสหภาพยุโรป

ผลกระทบทางเศรษฐกิจ

ผลกระทบจริงๆ ต่อเศรษฐกิจค่อนข้างยากที่จะประเมิน เพราะมีความไม่แน่นอนค่อนข้างสูงเกี่ยวกับเงื่อนไขหลักจากการโหวตไปแล้ว และนักวิเคราะห์หลายคนมีประมาณการที่ต่างกันค่อนข้างมาก ตั้งแต่บวกยันลบ (อาจจะขึ้นอยู่กับความเห็นทางการเมือง)
แต่ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับการออกจากสหภาพยุโรปออกมาเตือนกันค่อนข้างเยอะ ทั้งรัฐบาลสหราชอาณาจักรเอง ผู้นำยุโรป และผู้นำสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ IMF และ OECD ยังออกมาเตือนว่า ถ้าสหราชอาณาจักรออกจากสหภาพยุโรปจริงๆ อาจจะเกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจโลกอย่างร้ายแรงได้ (และดันมาทำกันตอนเศรษฐกิจโลกเปราะบางเสียด้วย) และประเด็นนี้กลายเป็นประเด็นความเสี่ยงสำคัญที่ผู้จัดการกองทุนทั่วโลกยกขึ้นมาเป็นลำดับต้นๆ
แม้แต่ธนาคารกลางอังกฤษ ยังบอกว่าจะต้องเตรียมมาตรการรับมือกรณีที่ต้องออกจากสหภาพยุโรปจริงๆ หรือกรรมการนโยบายการเงินสหรัฐฯ ยังบอกว่าการลงประชามติอาจจะมีผลต่อการตัดสินใจ

Too close to call

ผลการสำรวจประชามติ (ตามดูได้ที่นี่) ที่ผ่านมายังคงค่อนข้างใกล้กันมาก แม้ฝ่ายสนับสนุนให้อยู่ต่อจะมีคะแนนนำอยู่เล็กน้อย แต่ฝ่ายที่ยังไม่ตัดสินใจยังคงมีมาก และสามารถเปลี่ยนผลการลงคะแนนได้แบบสบายๆ (ตัวชี้วัดอื่นๆ เช่น ผลจากเว็บไซต์พนันต่างๆ ให้โอกาสอยู่ต่อเยอะกว่าพอสมควร)

ที่มา: Financial times
ที่มา: Financial times

อย่างไรก็ดี ตลาดก็ให้ความกังวลประเด็นนี้ค่อนข้างมาก ค่าเงินปอนด์อังกฤษหล่นไปอยู่ระดับต่ำที่สุดในรอบหลายปี และราคาหุ้นบริษัทที่อาจจะได้รับผลกระทบจากการออกจากสหภาพยุโรปก็พลอยได้รับผลกระทบไปด้วย

ที่มา: TradingEconomics.com
ที่มา: TradingEconomics.com

ติดตามข่าวสารกันดีๆ เพราะอาจจะมีผลกระทบลามมาถึงเราได้เหมือนกัน แต่ถ้าให้ผมเดาวันนี้ผมเดาว่าผลโหวตออกมาไม่น่าออกครับ เพราะเหตุผลทางเศรษฐกิจและความไม่แน่นอนน่าจะมีเยอะจนไม่กล้าโหวตออกกัน คล้ายๆ กับตอนที่สกอตแลนด์โหวตเมื่อปีก่อน
แต่นี่เป็นประเด็นทางการเมืองมากกว่าเศรษฐกิจ อะไรก็เกิดขึ้นได้

ยุโรป

สหภาพยุโรป (European Union -EU)

ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้ง     ประเทศในทวีปยุโรป 25 ประเทศ (ออสเตรีย เบลเยียม เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ ไอร์แลนด์ อิตาลี ลักเซมเบิร์ก  เนเธอร์แลนด์ โปรตุเกส สเปน สวีเดน สหราชอาณาจักร ไซปรัส เช็ก เอสโตเนีย  ฮังการี  ลัตเวีย ลิทัวเนีย  มอลตา โปแลนด์ โลวีเนีย และสโลวาเกีย)
พื้นที่     3,976,372 ตารางกิโลเมตร
ประชากร    ประมาณ 456.9 ล้านคน
ภาษา        ประมาณ 20 ภาษา
ศาสนา       ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ นอกนั้นนับถือศาสนา ต่าง ๆ เช่น ยิว อิสลาม พุทธ
ที่ตั้งสำนักงานใหญ่   กรุงบรัสเซลส์ (Brussels) ประเทศเบลเยียม
สกุลเงิน    ยูโร (ยกเว้นสหราชอาณาจักร สวีเดน เดนมาร์ก และประเทศ
สมาชิกใหม่ 10 ประเทศ)
อัตราแลกเปลี่ยน   1 ยูโร =  ประมาณ 49-53 บาท
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) 13.31 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
อัตราการเจริญเติบโตของ GDP ร้อยละ 1.7
รายได้เฉลี่ยต่อหัว   28,100 ยูโร / คน
อัตราการว่างงาน   ร้อยละ 9.4
อัตราเงินเฟ้อ    ร้อยละ 2.2
มูลค่าการนำเข้า   1.402 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
ประเทศคู่นำเข้า   สหรัฐอเมริกา จีน รัสเซีย ญี่ปุ่น
สินค้าเข้าสำคัญ   เครื่องจักร ยานยนต์ เครื่องบิน พลาสติก น้ำมันดิบ เคมีภัณฑ์ สิ่งทอ โลหะ อาหาร เสื้อผ้า
มูลค่าการส่งออก   1.318 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
ประเทศคู่ส่งออก   สหรัฐอเมริกา สวิตเซอร์แลนด์ จีน รัสเซีย
สินค้าออกสำคัญ   เครื่องจักร ยานยนต์ เครื่องบิน พลาสติก ยาและเวชภัณฑ์ เชื้อเพลิง เหล็กและเหล็กกล้า โลหะ เยื่อไม้และกระดาษ สิ่งทอ
ระบบการเมือง  เป็นสหภาพทางเศรษฐกิจและการเงิน ปกครองในระบอบประชาธิปไตย ประเทศสมาชิกหมุนเวียนกันดำรงตำแหน่งประธานสหภาพยุโรปทุก 6 เดือน โดยทำงานร่วมกันกับคณะกรรมาธิการยุโรปและสภายุโรป
ประธานสหภาพยุโรป   1 ม.ค.-30 มิ.ย. 2549 : ออสเตรีย
                           1 ก.ค.-31 ธ.ค. 2549 :  ฟินแลนด์
ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป นาย Jose Manuel Barroso
ประธานสภายุโรป   นาย Josep Borrell


ความเป็นมา

• ค.ศ. 1952 : จัดตั้งประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้าแห่งยุโรป (European Coal and Steel Community – ECSC) มีสมาชิก 6 ประเทศ ได้แก่ ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม และ ลักเซมเบิร์ก
• ค.ศ. 1958 : จัดตั้งประชาคมพลังงานปรมาณู (European Atomic Energy Community – EURATOM) และประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (European Economic Community – EEC)
• ค.ศ. 1967 : ทั้งสามองค์กรได้รวมตัวกันภายใต้กรอบ EEC
• ค.ศ. 1968 : EEC ได้พัฒนาเป็นสหภาพศุลกากร (Custom Union) และก้าวสู่การเป็น    ตลาดร่วม (Common Market)
• ค.ศ. 1973 : สหราชอาณาจักร เดนมาร์ก และไอร์แลนด์เข้าเป็นสมาชิก
• ค.ศ. 1981 : กรีซเข้าเป็นสมาชิก
• ค.ศ. 1986 : สเปนและโปรตุเกสเข้าเป็นสมาชิก
• ค.ศ. 1987 : ออก Single European Act เพื่อพัฒนา EEC ให้เป็นตลาดร่วมหรือตลาดเดียว ในวันที่ 1 มกราคม 1993 และเรียกชื่อใหม่ว่า ประชาคมยุโรป (European Community – EC)
• ค.ศ. 1992 : ลงนามในสนธิสัญญาก่อตั้งสหภาพยุโรป (Treaty of the European Union) หรืออีกชื่อหนึ่งว่า สนธิสัญญามาสทริกท์ (Maastricht Treaty) เรียกชื่อใหม่ว่า สหภาพยุโรป (European Union – EU) มีเสาหลัก 3 ประการ คือ (1) ประชาคมยุโรป (2) นโยบายร่วมด้านการต่างประเทศและความมั่นคง และ (3) ความร่วมมือด้านกิจการยุติธรรมและกิจการภายใน
• ค.ศ. 1995 : ออสเตรีย ฟินแลนด์ และสวีเดนเข้าเป็นสมาชิก
• ค.ศ. 1997 : ลงนามในสนธิสัญญาอัมสเตอร์ดัม (Treaty of Amsterdam) แก้ไขเพิ่มเติม สนธิสัญญามาสทริกท์ เรื่องนโยบายร่วมด้านการต่างประเทศและความมั่นคง ความเป็นพลเมืองของสหภาพยุโรป และการปฏิรูปกลไกด้านสถาบันของสหภาพยุโรป
• ค.ศ. 2001 : ลงนามในสนธิสัญญานีซ (Treaty of Nice) เน้นการปฏิรูปด้านสถาบันและกลไกต่าง ๆ ของสหภาพยุโรป เพื่อรองรับการขยายสมาชิกภาพ
• 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 2004 : รับสมาชิกเพิ่มอีก 10 ประเทศ ได้แก่ ไซปรัส เช็ก เอสโตเนีย ฮังการี ลัตเวีย ลิทัวเนีย มอลตา  โปแลนด์ สโลวาเกีย และสโลวีเนีย
• 29 ตุลาคม ค.ศ. 2004 : ประเทศสมาชิก EU 25 ประเทศ ลงนามในธรรมนูญยุโรป และ           หลายประเทศจะมีการลงประชามติรับรองธรรมนูญฯ ภายในปี ค.ศ. 2006


ความสัมพันธ์ไทย - สหภาพยุโรป

ภาพรวม
• ไทยกับสหภาพยุโรปมีความสัมพันธ์ที่ดีและราบรื่นในทุก ๆ ด้าน ไทยมองว่าสหภาพยุโรปเป็นหนึ่งใน player ที่สำคัญมากในเวทีระหว่างประเทศ เนื่องจากมีบทบาทในการสร้างกระแสและทิศทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมระดับโลก เป็น 1 ใน 3 ศูนย์กลางเศรษฐกิจโลก เป็นตลาดสินค้าและบริการที่มีศักยภาพในการซื้อสูงที่สุดของโลกตลาดหนึ่ง มี GDP ใหญ่ที่สุดในโลก และมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสูง
• สหภาพยุโรปย้ำเสมอว่า ไทยคือหุ้นส่วนที่สำคัญของสหภาพยุโรปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในมิติการเมืองและความมั่นคง โดยไทยมีบทบาทสำคัญในภูมิภาคเอเชียมาโดยตลอดอีกทั้งยังเป็นตัวกลางสำคัญในการเชื่อมโยงสหภาพยุโรปกับประเทศอาเซียนอื่น ๆ และในกรอบ ARF (ASEAN Regional Forum)
ด้านการเมือง• เมื่อวันที่ 22 พ.ย. 2521 ไทยและประชาคมยุโรปลงนามในคำแถลงร่วมเกี่ยวกับการจัดตั้งคณะผู้แทนของสำนักงานคณะกรรมาธิการประชาคมยุโรป ณ กรุงเทพฯ ต่อมาเมื่อวันที่ 19 มี.ค. 2522 ไทยได้ออกพระราชบัญญัติคุ้มครองการดำเนินงานของประชาคมยุโรปและสำนักงานคณะ กรรมาธิการประชาคมยุโรปในประเทศไทย
• เมื่อปี 2535 ไทยได้ปรับฐานะทางการทูตของเอกอัครราชทูตหัวหน้าสำนักงานคณะผู้แทนคณะกรรมาธิการยุโรปประจำประเทศไทย โดยให้ยกระดับจากการยื่นสาส์นตราตั้งต่อนายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้ารัฐบาล เป็นการเข้าเฝ้าฯ ทูลเกล้าฯ ถวายสาส์นตราตั้งแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ในฐานะประมุขของรัฐ
• การแลกเปลี่ยนการเยือนระดับผู้นำ มีดังนี้
   1. เมื่อวันที่ 13 มิ.ย. 2545 นรม. ได้เดินทางเยือนคณะกรรมาธิการยุโรปอย่างเป็นทางการ (เป็นครั้งแรก ในรอบ 14 ปี) โดยได้พบหารือกับนาย Romano Prodi ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป และนาย Pascal Lamy กรรมาธิการยุโรปด้านการค้า (ในขณะนั้น) โดยทั้งสองฝ่ายได้มีแถลงการณ์ร่วม (EC-Thailand Joint Statement) เพื่อกำหนดแนวทางความสัมพันธ์ระหว่างกันในอนาคตและเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ในภูมิภาคเอเชีย ตอ. เฉียงใต้ นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายยังเห็นชอบให้จัดทำกรอบความตกลง    ว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนและความร่วมมือระหว่างไทยกับประชาคมยุโรป (Framework Agreement on Partnership and Cooperation between the European Community and the Kingdom of Thailand) ที่ครอบคลุมความสัมพันธ์ในทุกด้าน
   2. เมื่อวันที่ 12 ต.ค. 2548 นรม. ได้เดินทางเยือนคณะกรรมาธิการยุโรป และได้พบหารือกับนาย José Barroso ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป และนาง Benita Ferrero-Waldner กรรมาธิการยุโรปด้านการต่างประเทศและนโยบายต่อประเทศเพื่อนบ้าน โดยทั้งสองฝ่ายได้ลงนามใน   EC-Thailand Joint Statement และแสดงความยินดีที่การจัดทำกรอบความตกลงฯ มีความก้าวหน้าด้วยดี
ด้านเศรษฐกิจ• สหภาพยุโรปเป็นคู่ค้าอันดับที่ 3 ของไทย รองจากอาเซียน และญี่ปุ่น ตามลำดับ
• การค้าระหว่างไทยกับสหภาพยุโรปเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2548 มูลค่าการค้าสองฝ่ายสูงถึง 1,033,084.9 ล้านบาท ไทยนำเข้า 432,900.2 ล้านบาท และส่งออก 600,184.7 ล้านบาท โดยไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้า 167,284.5 ล้านบาท
• ในปี 2548 ไทยส่งออก 600,184.7 ล้านบาท ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ รถยนต์ อัญมณีและเครื่องประดับ เสื้อผ้าสำเร็จรูป แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศ เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ เครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ ยางพารา และผลิตภัณฑ์ยาง
• ในปี 2548 ไทยนำเข้า 432,900.2 ล้านบาท ได้แก่ เครื่องจักรกล เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรไฟฟ้า เครื่องบิน เครื่องร่อน และอุปกรณ์การบิน แผงวงจรไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม เหล็กและเหล็กกล้า เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ เครื่องประดับเพชรพลอยและอัญมณี  และส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์
• ส่วนด้านการลงทุน ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปได้เข้ามาลงทุนในไทยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่มีความชำนาญ ได้แก่ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมยาและเคมี และการขนส่งสินค้าทางทะเล จากสถิติของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนชี้ให้เห็นว่า ในปี 2548 มีโครงการลงทุนจากสหภาพยุโรปที่ได้รับการอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุน รวมทั้งสิ้น 108 โครงการ คิดเป็นมูลค่าการลงทุน 32,372 ล้านบาท
• อย่างไรก็ตาม ไทยกับสหภาพยุโรปยังมีปัญหาการค้าหลายประเด็น เช่น การเปลี่ยนแปลงระบบนำเข้าข้าวของสหภาพยุโรป ปัญหาการขยายมาตรการต่อต้านการทุ่มตลาดและการต่อต้านการอุดหนุน (AD/CVD) ไปยังประเทศสมาชิกใหม่ 10 ประเทศ ปัญหาการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของไทย
ด้านสังคมและวัฒนธรรม
• สหภาพยุโรปให้การสนับสนุนไทยในด้านต่าง ๆ อาทิ การพัฒนาชนบทและการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 ภายใต้โครงการสนับสนุนทางสังคม (Social Support Project – SSP) การพัฒนาและสนับสนุนความร่วมมือระหว่างเมืองใหญ่ ภายใต้โครงการ Asia-Urbs Programme และการให้ทุนการศึกษา ภายใต้โครงการ Erasmus Mundus ซึ่งเป็นทุนการศึกษาที่ให้แก่นักศึกษาจากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก โดยจะให้ทุนในหลักสูตรปริญญาโท จำนวน 5,000 ทุน และทุนสำหรับนักวิชาการอีก 1,000 ทุน ใช้งบประมาณจำนวน 230 ล้านยูโร และมีกำหนดระยะเวลาดำเนินการระหว่างปี 2547-2551
ยุทธศาสตร์ที่สหภาพยุโรปมีต่อไทย
• สหภาพยุโรปมองว่า ไทยคือหุ้นส่วนที่สำคัญในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในมิติการเมืองและความมั่นคงซึ่งไทยมีบทบาทสำคัญในภูมิภาคเอเชียมาโดยตลอด  อีกทั้งยังเป็นตัวกลางสำคัญในการเชื่อมโยงสหภาพยุโรปกับประเทศอาเซียนอื่น ๆ และในกรอบ ARF (ASEAN Regional Forum)
• สหภาพยุโรปกำลังอยู่ระหว่างการจัดทำยุทธศาสตร์รายประเทศ (Country Strategy Paper) ฉบับที่ 2 กับไทย ระยะเวลาตั้งแต่ปี ค.ศ.  2007-2013 โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์จากผู้ให้กับผู้รับ เป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา ซึ่งจะมีประเด็นหลัก 2 ประเด็น ได้แก่  1) การส่งเสริมทุกมิติของความสัมพันธ์ที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน ผ่านโครงการ Thailand-EC Cooperation Facility และ 2) การให้ทุนการศึกษาแก่นักศึกษาไทย ผ่านโครงการ Erasmus Mundus
ยุทธศาสตร์ที่ไทยมีต่อสหภาพยุโรป
• ไทยเห็นว่า สหภาพยุโรปเป็นภูมิภาคที่สำคัญและมีบทบาทอย่างมากในประชาคมโลก โดยเฉพาะบทบาทในแง่มุมของการพัฒนาระบบการเมืองระหว่างประเทศไปสู่ระบบหลายขั้ว (multipolar world) ไทยและสหภาพยุโรปได้มีความร่วมมือด้านความมั่นคงในหลายๆ มิติ เช่น การต่อต้าน    การก่อการร้าย การค้ายาเสพติด การลักลอบค้ามนุษย์
• ที่ผ่านมา ไทยได้พยายามปรับบทบาทและกลยุทธ์ให้มีความสอดคล้องและเสริมสร้างความใกล้ชิดกับสหภาพยุโรป โดยมีเป้าหมาย ดังนี้
1. การเป็นหุ้นส่วนที่สำคัญของสหภาพยุโรปในภูมิภาคเอเชีย
2. การเป็นศูนย์กลางของสหภาพยุโรปในภูมิภาคเอเชียในด้านที่สำคัญ เช่น การผลิตทางอุตสาหกรรม การค้า สาธารณสุข เทคโนโลยีชีวภาพ SMEs การวิจัยและการพัฒนา และการลงทุนของสหภาพยุโรป
3. การลดปัญหาและอุปสรรคทางเศรษฐกิจและการค้าของไทยในตลาดสหภาพยุโรป และขยายส่วนแบ่งการตลาดของสินค้าส่งออกของไทยในสหภาพยุโรป
4. การส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนต่อประชาชน และความสัมพันธ์ระหว่างประชาสังคม รวมทั้งสื่อมวลชน วงการวิชาการ และความร่วมมือระดับท้องถิ่นกับท้องถิ่น
5. ความร่วมมือกับสหภาพยุโรปในการพัฒนาและปฏิรูปเวทีและองค์การระหว่างประเทศ รวมทั้งการมีท่าทีร่วมในประเด็นระหว่างประเทศ
6. การมีภาพลักษณ์ที่ดีของไทย และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับประเทศไทย
กลไกการดำเนินความสัมพันธ์• การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโส ไทย-ประชาคมยุโรป (Thailand-EC Senior Official Meeting –      Thai-EC SOM) : จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยประธานของแต่ละฝ่ายเป็นระดับปลัดกระทรวง        การประชุมครั้งล่าสุด (ครั้งที่ 9) จัดขึ้นที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 16-17 ธ.ค. 2547
• การประชุมคณะทำงานด้านความร่วมมือไทย-คณะกรรมาธิการยุโรป (Thailand – EC Working Group on Cooperation) : เป็นการประชุมระหว่างหน่วยงานไทยกับคณะผู้แทนคณะ             กรรมาธิการยุโรปประจำประเทศไทย จัดขึ้นปีละ 2 ครั้ง เพื่อรับทราบความคืบหน้าของโครงการความร่วมมือระหว่างไทยกับยุโรปที่ดำเนินการในประเทศไทย เช่น การส่งเสริมการค้าการลงทุน ความร่วมมือด้านการศึกษา และความร่วมมือด้านสาธารณสุข เป็นต้น
• การจัดทำกรอบความตกลงว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนและความร่วมมือระหว่างไทยกับประชาคมยุโรป (Framework Agreement on Partnership and Cooperation between the Kingdom of Thailand and the European Community) : เป็นความตกลงที่มีเนื้อหาครอบคลุมทุกมิติของความสัมพันธ์ อาทิ การเมือง เศรษฐกิจ สังคม การค้าการลงทุน การศึกษาและวัฒนธรรม        สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พลังงาน การต่อต้านยาเสพติด และการต่อต้านการฟอกเงิน เป็นต้น โดยขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการเจรจาในขั้นสุดท้าย
ข้อมูลจากเว็บไซต์ กระทรวงการต่างประเทศ


สถานะและความสำคัญของสหภาพยุโรป

• ในภาพรวม สหภาพยุโรปเป็นกลุ่มประเทศที่มีบทบาทสำคัญยิ่งในการสร้างกระแสและทิศทางการเมือง ความมั่นคงเศรษฐกิจและสังคมระดับโลก
• ในด้านเศรษฐกิจ สหภาพยุโรปเป็น 1 ใน 3 ศูนย์กลางเศรษฐกิจโลก เป็น“Economic Heavyweight” ที่มี GDP ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นตลาดสินค้าและบริการ ตลาดการเงิน และแหล่งที่มาของการลงทุนที่สำคัญที่สุด และเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือแก่ต่างประเทศที่ใหญ่ที่สุด รวมทั้งมีบรรษัทข้ามชาติระดับโลกเป็นจำนวนมากที่สุด
• พลังทางเศรษฐกิจของสหภาพยุโรปมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น อันเป็นผลมาจากการขยายสมาชิกภาพอย่างต่อเนื่อง การพัฒนาในกรอบสหภาพเศรษฐกิจและการเงิน การพัฒนานโยบายร่วมในด้านต่างๆ และการปฏิรูปโครงสร้างสถาบันและการบริหาร


สถาบันหลักของสหภาพยุโรป

คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป (the Council of the European Union)• เป็นสถาบันที่มีอำนาจในการตัดสินใจหลักและทำงานด้านนิติบัญญัติร่วมกับสภายุโรป ประกอบด้วยผู้แทนจากประเทศสมาชิกที่มาประชุมเพื่อแสดงจุดยืนและประนีประนอมทางด้านผลประโยชน์ระหว่างกัน ผู้แทนเหล่านี้จะพบกันเป็นประจำทั้งในระดับคณะทำงาน เอกอัครราชทูต และรัฐมนตรี ในกรณีที่มีการตัดสินใจเกี่ยวกับแนวนโยบายสำคัญ ๆ การประชุมจะทำในระดับผู้นำประเทศเรียกว่า การประชุมคณะมนตรียุโรปหรือที่ประชุมสุดยอดยุโรป (European Council)
• หน้าที่หลักของคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป มีดังนี้
1. ทำงานร่วมกับสภายุโรปในการบัญญัติกฎหมาย
2. ประสานแนวนโยบายด้านเศรษฐกิจของประเทศสมาชิก
3. บรรลุความตกลงระหว่างประเทศที่สำคัญ ๆ ระหว่างสหภาพยุโรปกับประเทศหรือ                   
องค์กรระหว่างประเทศ
4. ใช้อำนาจร่วมกับสภายุโรปในการอนุมัติงบประมาณของสหภาพยุโรป
5. พัฒนานโยบายร่วมด้านการต่างประเทศและความมั่นคง
6. ประสานความร่วมมือระหว่างตำรวจและศาลยุติธรรมในการปราบปรามอาชญากรรม
คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission)• เป็นผู้รับผิดชอบงานประจำส่วนใหญ่ของสหภาพยุโรป ทั้งยังร่างข้อเสนอกฎหมายใหม่ ๆ เพื่อให้สภายุโรปและคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรปให้ความเห็นชอบ นอกจากนี้ ยังคอยควบคุมให้มีการปฏิบัติตามข้อตกลงต่าง ๆ อย่างเหมาะสม รวมทั้งการใช้งบประมาณของสหภาพยุโรป และคอยสอดส่องให้มีการปฏิบัติตามสนธิสัญญาและกฎหมายของสหภาพยุโรป ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการยุโรปจะทำงานอย่างเป็นอิสระจากรัฐบาลของประเทศสมาชิก โดยมีสำนักงานอยู่ที่กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม
• คณะกรรมาธิการยุโรปประกอบด้วยประธานและกรรมาธิการยุโรป รวม 25 คน โดยประธานคณะกรรมาธิการยุโรปได้รับการคัดเลือกจากรัฐบาลของประเทศสมาชิก และได้รับการอนุมัติเห็นชอบโดยสภายุโรป ส่วนกรรมาธิการยุโรปคนอื่น ๆ ได้รับการเสนอชื่อจากรัฐบาลประเทศสมาชิกหลังจากที่ได้มีการหารือกับผู้ที่จะมาเป็นประธาน ซึ่งจะต้องได้รับความเห็นชอบจากสภายุโรปเช่นกัน  คณะกรรมาธิการยุโรปมีวาระการทำงาน 5 ปี แต่สามารถถูกถอดถอนได้โดยสภายุโรป
• ตั้งแต่วันที่ 22 พฤศจิกายน 2547 ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป คือ นาย Jose Barroso
• หน้าที่หลักของคณะกรรมาธิการยุโรป มีดังนี้
  1.มีสิทธิในการริเริ่มร่างกฎหมายและส่งผ่านร่างกฎหมายไปยังสภายุโรปและคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป
  2.ในฐานะที่เป็นฝ่ายบริหารของสหภาพยุโรป โดยมีหน้าที่ในการนำกฎหมาย การจัดสรรงบประมาณ และนโยบายที่ออกโดยสภายุโรปและคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรปไปปฏิบัติ
  3.ทำหน้าที่ในการพิทักษ์รักษาสนธิสัญญาต่างๆ และทำงานร่วมกับศาลยุติธรรมยุโรป ในการดูแลให้กฎหมายถูกนำไปใช้อย่างเหมาะสม
  4.เป็นตัวแทนของสหภาพยุโรปในเวทีการเมืองระหว่างประเทศ และทำหน้าที่ในการเจรจาต่อรองข้อตกลงระหว่างประเทศ โดยส่วนใหญ่จะเป็นการเจรจาในเรื่องการค้าและการร่วมมือระหว่างกัน
สภายุโรป (European Parliament)• เป็นเสียงแห่งประชาธิปไตยของประชาชนยุโรป สมาชิกสภายุโรปจำนวน 731 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรงทุก ๆ 5 ปี โดยสมาชิกสภายุโรปเหล่านี้มิได้แบ่งตามประเทศ แต่สังกัดอยู่กับพรรคการเมืองในระดับยุโรปที่มีแนวคิดทางการเมืองสอดคล้องกับพรรคการเมืองในระดับประเทศที่ตนสังกัดมากที่สุด นอกจากนี้ ยังมีสมาชิกสภายุโรปบางส่วนที่ไม่ได้สังกัดพรรคการเมืองใด ทั้งนี้ ประธานสภายุโรปคนปัจจุบันคือ นาย Josep Borell
• สภายุโรปมีคณะกรรมาธิการสภาดูแลเฉพาะเรื่องต่าง ๆ เช่น กิจการระหว่างประเทศ งบประมาณ สิ่งแวดล้อม และอื่น ๆ
• หน้าที่หลักของสภายุโรป มีดังนี้
1. ตรวจสอบและบัญญัติกฎหมายของสหภาพยุโรป โดยส่วนใหญ่จะใช้อำนาจร่วมกับคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป
2. อนุมัติงบประมาณของสหภาพยุโรป
3. ตรวจสอบการทำงานของสถาบันต่าง ๆ ในสหภาพยุโรปตามหลักประชาธิปไตย รวมทั้งจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อทำการไต่สวน
4. ให้ความเห็นชอบข้อตกลงระหว่างประเทศที่สำคัญ เช่น การรับสมาชิกใหม่ และความตกลงด้านการค้าหรือการมีความสัมพันธ์ในเชิงการรวมกลุ่มระหว่างสหภาพยุโรปกับประเทศที่สาม
ธรรมนูญยุโรป• เมื่อวันที่ 29 ต.ค. 2547 ผู้นำประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป 25 ประเทศ ได้ลงนามในสนธิสัญญาว่าด้วยธรรมนูญยุโรป (Treaty Establishing a Constitution for Europe) ณ กรุงโรม โดยธรรมนูญดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้เมื่อประเทศสมาชิกทั้ง 25 ประเทศ ให้สัตยาบันรับรอง โดยผ่านขั้นตอนของรัฐสภาหรือจัดให้มีการลงประชามติ ภายใน 2 ปี นับจากวันลงนามฯ (ปี 2549)
• จนถึงเดือน ก.พ. 2549 มีประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปให้สัตยาบันรับรองธรรมนูญยุโรปแล้ว 13 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรีย ไซปรัส เยอรมนี กรีซ ฮังการี อิตาลี ลัตเวีย ลิทัวเนีย ลักเซมเบิร์ก มอลตา       สโลวาเกีย สโลวีเนีย และสเปน ส่วนประเทศสมาชิกที่คัดค้านธรรมนูญยุโรป (ด้วยการลงประชามติ) มี 2 ประเทศ ได้แก่ ฝรั่งเศส และเนเธอร์แลนด์ ทั้งนี้ ยังมีประเทศสมาชิกที่มีกำหนดจะจัดการลงประชามติ หรือ     ให้รัฐสภารับรองธรรมนูญฯ ในปีนี้ อีก 3 ประเทศ ได้แก่ เบลเยียม เอสโตเนีย และฟินแลนด์ และมี 7 ประเทศ ที่เลื่อนการลงประชามติออกไป ได้แก่ เช็ก เดนมาร์ก ไอร์แลนด์ โปแลนด์ โปรตุเกส สวีเดน และอังกฤษ
• ธรรมนูญฯ ดังกล่าวมีความสำคัญเนื่องจากจะช่วยพัฒนาสหภาพยุโรปให้มีความโปร่งใสและเป็นประชาธิปไตยยิ่งขึ้น เช่น เปลี่ยนกระบวนการตัดสินใจจากระบบ qualified majority  เป็นระบบ double majority ซึ่งมติที่ผ่านจะต้องมาจากคะแนนเสียงร้อยละ 55 ของประเทศสมาชิก และร้อยละ 65 ของจำนวนประชากร เปลี่ยนระยะเวลาหมุนเวียนตำแหน่งประธานสหภาพยุโรปทุก 2 ปีครึ่ง แทนการหมุนเวียนทุก 6 เดือนอย่างเช่นในปัจจุบัน อีกทั้งส่งเสริมให้สถาบันต่าง ๆ ทั้งคณะกรรมาธิการยุโรป สภายุโรป และคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป มีบทบาทและความสำคัญเท่าเทียมกัน นอกจากนี้ จะมีการแต่งตั้งตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศของสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้นอีก 1 ตำแหน่งทำให้สหภาพยุโรปมีนโยบายต่างประเทศที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันมากขึ้น


การขยายสมาชิกภาพของสหภาพยุโรปในอนาคต

• EU กำลังพิจารณารับสมาชิกใหม่เพิ่มเติมจากประเทศแถบคาบสมุทรบอลข่านตะวันตก แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
1. ประเทศว่าที่สมาชิกใหม่
    บัลแกเรียและโรมาเนีย : สหภาพยุโรปเสร็จสิ้นการเจรจารับบัลแกเรียและโรมาเนียเข้าเป็นสมาชิก เมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 2547 และคณะมนตรียุโรปได้ลงนามในสนธิสัญญารับประเทศ ทั้งสองเข้าเป็นสมาชิก เมื่อวันที่ 25 เม.ย. 2548 โดยจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2550 (ค.ศ. 2007)
2. ประเทศที่อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาเข้าเป็นสมาชิก
    ตุรกี : ตุรกีเป็นสมาชิกสมทบของ EEC ตั้งแต่ปี 2506 และสมัครเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป เมื่อปี 2520 (ค.ศ. 1977) ทั้งนี้ สหภาพยุโรปเพิ่งเปิดการเจรจากับตุรกี เมื่อวันที่ 3 ต.ค. 2548 โดยการเจรจาดังกล่าวเป็นแบบ open-ended process และหากเจรจาสำเร็จ กระบวนการเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปของตุรกีอาจใช้เวลาถึง 10 ปี
   โครเอเชีย : เมื่อวันที่ 3 ต.ค. 2548 สหภาพยุโรปเปิดการเจรจารับโครเอเชียเข้าเป็นสมาชิก เนื่องจากพอใจที่โครเอเชียให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีกับศาลอาญาระหว่างประเทศในอดีตยูโกสลาเวีย (International Criminal Tribunal for the Former Yugoslavia – ICTY) ขององค์การสหประชาชาติ ทั้งนี้ คาดว่ากระบวนการพิจารณาระบบบริหารและนิติบัญญัติของโครเอเชียเพื่อนำไปสู่การบูรณาการเข้ากับระบบของสหภาพยุโรป จะใช้เวลาประมาณ 1 ปี
   มาซิโดเนีย : เมื่อวันที่ 16 ธ.ค. 2548 ที่ประชุมคณะมนตรียุโรปมีมติให้สถานะประเทศผู้สมัครเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป (candidate country status) แก่มาซิโดเนีย ทั้งนี้คณะกรรมธิการยุโรปยังต้องประเมินสถาการณ์อีกครั้งว่า มาซิโดเนียมีพัฒนาการและปฏิบัติสอดคล้องกับเงื่อนไขต่าง ๆ ของสหภาพยุโรปหรือไม่ ก่อนที่จะมีการพิจารณาเรื่องการเปิดการเจรจาเพื่อเข้าเป็นสมาชิกต่อไป
3. ประเทศที่กำลังจะสมัครเข้าเป็นสมาชิกในอนาคต
   เซอร์เบียและมอนเตนีโกร : เมื่อวันที่ 12 เม.ย. 2548 คณะกรรมาธิการยุโรปได้เสนอแนะให้ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปเริ่มการเจรจาจัดทำความตกลง Stabilization and Association Agreement (SAA)  กับเซอร์เบียและมอนเตนีโกร ซึ่งถือเป็นก้าวแรกของการเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป อย่างไรก็ตาม สหภาพยุโรปยังต้องการความร่วมมือจากรัฐบาลเซอร์เบียฯ ในการจับกุมและส่งมอบอาชญากรรมสงครามจากสงครามกลางเมืองในอดีตยูโกสลาเวียแก่ ICTY ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการเจรจาขยายสมาชิกภาพของเซอร์เบีย
   บอสเนีย : เมื่อเดือน ม.ค. 2549 สหภาพภาพยุโรปกับบอสเนียได้เริ่มเจรจาอย่าง  เป็นทางการเพื่อจัดทำ SAA ซึ่งนับเป็นความร่วมมือในขั้นแรกที่อาจนำไปสู่การเจรจาเข้าเป็นสมาชิกต่อไปหากบอสเนียสามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขต่าง ๆ ของสหภาพยุโรปได้
   อัลเบเนีย : สหภาพยุโรปเริ่มการเจรจาจัดทำข้อตกลง SAA กับอัลเบเนียตั้งแต่ปี 2546 และคาดว่าน่าจะสามารถบรรลุข้อตกลงได้ในปี 2549

อาเซียนคืออะไร ?

อาเซียน ASEAN

ประชาคมอาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations : ASEAN) เป็นองค์กรระหว่างประเทศระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีจุดเริ่มต้นโดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ได้ร่วมกันจัดตั้ง สมาคมอาสา (Association of South East Asia) เมื่อเดือน ก.ค.2504 เพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แต่ดำเนินการไปได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความผกผันทางการเมืองระหว่างประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย จนเมื่อมีการฟื้นฟูสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสองประเทศ จึงได้มีการแสวงหาหนทางความร่วมมือกันอีกครั้ง

อาเซียนคืออะไร ?

ASEAN
หลายคนอาจจะยังมีข้อกังขาเกี่ยวคำเรียกที่ว่า "ASEAN" หรือในภาษาไทยอ่านว่า "อาเซียน" จริงๆ แล้วคำนี้มันมีความหมายว่าอะไร และมีความสำคัญอย่างไร เหตุใดเราถึงควรรู้จักกับเจ้าคำนี้เอาไว้ วันนี้ เราจะมาคลายข้อสงสัยเพื่อทำให้ผู้อ่านได้รู้จักกับ "อาเซียน" มากขึ้น
อาเซียน เกิดจากการรวมตัวกันของ 10 ประเทศ อันได้แก่ มาเลเซีย, พม่า, กัมพูชา, ลาว, ไทย, สิงคโปร์, เวียดนาม, บรูไนดารุส-ซาลาม, ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ซึ่งรายนามประเทศเหล่านี้เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งสิ้น โดยอาเซียน มีชื่อเรียกเต็มๆ ว่า "Association of Southeast Asian Nations" หรือ "สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้"
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถือกำเนิดขึ้นโดย "ปฏิญญากรุงเทพ" (Bangkok Declaration) หรือ "ปฏิญญาอาเซียน" (ASEAN Declaration) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 โดยมีสมาชิกเริ่มแรกเพียง 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์ และไทย มีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางด้านการเมือง เศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศในแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยกันเอง ภายหลังจึงได้มีอีก 5 ประเทศสมาชิกเข้าร่วมเพิ่มเติม จึงทำให้ "อาเซียน" มีสมาชิกเป็น 10 ประเทศดังเช่นในปัจจุบัน
ปฏิญญากรุงเทพ
ในการจัดตั้งอาเซียน ภายในปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) ได้ระบุวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งเอาไว้ถึง 7 ข้อ อันได้แก่ ..
  1. ส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และการบริหาร 
  2. ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงส่วนภูมิภาค 
  3. เสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจพัฒนาการทางวัฒนธรรมในภูมิภาค 
  4. ส่งเสริมให้ประชาชนในอาเซียนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดี 
  5. ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในรูปของการฝึกอบรมและการวิจัย และส่งเสริมการศึกษาด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  6. เพิ่มประสิทธิภาพของการเกษตรและอุตสาหกรรม การขยายการค้า ตลอดจนการปรับปรุงการขนส่งและการคมนาคม
  7. เสริมสร้างความร่วมมืออาเซียนกับประเทศภายนอก องค์การ ความร่วมมือแห่งภูมิภาคอื่นๆ และองค์การระหว่างประเทศ

ข้อมูล ASEAN ที่ควรรู้

นอกจากอาเซียนนั้นจะมีความน่าสนใจในแง่ของความร่วมมือกันด้านต่างๆ ของทั้ง 10 ประเทศแล้ว อาเซียน ยังมีข้อมูลอีกบางประการที่เราควรจะต้องรู้เอาไว้ เผื่อว่าคุยกับใครๆ จะได้รู้เรื่อง !
  • เมื่อปี 2554 ประเทศในภูมิอาเซียนมีประชากรรวมกันมากถึง 620 ล้านค้น
  • ภูมิภาคอาเซียนมีอาณาเขตพื้นที่รวมกันทั้งสิ้น 4.5 ล้านตารางกิโลเมตร
  • ในภูมิภาคอาเซียนมีประชากรที่นับถือศาสนาแตกต่างกันทั้งพุทธิ อิสลาม คริสต์ และฮินดู
  • ประเทศในภูมิภาคที่มีประชากรนับถือศาสนาอิสลามมากที่สุด คือ อินโดนีเซีย และประเทศที่มีประชากรนับถือศาสนาคริสต์มากที่สุด คือ ฟิลิปปินส์
  • ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียนมีมูลค่าทางเศรษฐกิจโดยรวม เท่ากับ 2.1 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐ นับว่าเป็นอันดับที่ 9 ของโลก
  • ค่าการส่งออกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีมูลค่ารวม 2.0 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐ

ตราสัญลักษณ์อาเซียน

"สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" หรือ "อาเซียน" ใช้สัญลักษณ์เป็นรูปมัดรวงข้าวสีเหลืองบนพื้นวงกลมสีแดง ล้อมรอบด้วยวงกลมสีขาวและสีน้ำเงิน
ตราสัญลักษณ์อาเซียน
  • รวงข้าวสีเหลือง 10 ต้น หมายถึง ความใฝ่ฝันของบรรดาสมาชิกในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง 10 ประเทศ ให้มีอาเซียนที่ผูกพันกันอย่างมีมิตรภาพและเป็นหนึ่งเดียว
  • วงกลม หมายถึง เอกภาพของอาเซียน
  • ตัวอักษร "asean" สีน้ำเงินใต้ภาพรวงข้าว หมายถึง ความมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกันเพื่อความมั่นคง สันติภาพ เอกภาพ และความก้าวหน้าของประเทศสมาชิกอาเซียน

สีที่ใช้ในตราสัญลักษณ์อาเซียน

ซึ่งนอกจากตราสัญลักษณ์ที่จะช่วยสร้างความเข้าใจในความเป็นอาเซียนแล้ว สีที่ใช้ก็ยังมีส่วนที่ช่วยเสริมให้อาเซียนมีพลัง สามารถดำเนินไปได้ด้วยความอดทน และมีความเชื่อมั่นซึ่งกันและกัน
สีที่ใช้ในตราสัญลักษณ์อาเซียน
สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง 
สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและการมีพลวัติ 
สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ 
สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง

ธงประจำแต่ละประเทศสมาชิก

ในส่วนของ "ธงอาเซียน" ใช้พื้นธงเป็นสีน้ำเงิน มีตราสัญลักษณ์อาเซียนอยู่ตรงกลาง แสดงถึงความมีเสถียรภาพ สันติภาพ ความสามัคคี และพลวัตของอาเซียน ซึ่งสีที่ใช้อันประกอบไปด้วย สีน้ำเงิน สีแดง สีขาว และสีเหลือง ล้วนแต่เป็นสีหลักในธงชาติของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งสิ้น
ธงอาเซียน
นอกจากนั้น "สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" ยังได้กำหนดให้ทุกๆ วันที่ 8 สิงหาคมของทุกปีเป็น "วันอาเซียน" อีกทั้งยังมีเพลงประจำอาเซียนที่ชื่อว่า "ASEAN Way" สำหรับขับร้องในวันที่ 8 อีกด้วย
แน่นอนว่าการอยู่รวมกันเป็นหมู่มากอาจทำให้เกิดปัญหาที่ยากต่อการควบคุม เช่นเดียวกันกับการที่แต่ละประเทศในแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตัดสินใจเข้ามาอยู่รวมกันเพื่อจุดมุ่งหมายที่เหมือนกัน แต่ก็ยังมีความต่างทั้งในด้านของพื้นที่ เชื้อชาติ ประชากร และการดำรงชีวิต ที่จำเป็นจะต้องปรับเปลี่ยนให้ดำเนินไปในแนวทางเดียวกันได้ "สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" จึงได้ร่างเป็น "กฎบัตรอาเซียน" ที่เปรียบเสมือนกับรัฐธรรมนูญของอาเซียน โดยภายในได้รวบรวมเอาค่านิยม หลักการ การทำงานของอาเซียนซึ่งเป็นหลักปฏิบัติที่สำคัญอย่างเป็นทางการบันทึกไว้ ตลอดจนขอบเขตและหน้าที่ความรับผิดชอบขององค์ที่สำคัญในการขับเคลื่อนการทำงาน ความสัมพันธ์ อีกทั้งภารกิจที่สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบัน เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียนให้สามารถดำเนินการจนบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายไปได้ด้วยดี
"กฎบัตรอาเซียน" ได้มีการลงนามรับรองจากผู้นำอาเซียนในแต่ละประเทศไปเมื่อครั้งที่มีการจัดการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 13 เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2550 ณ ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญที่ได้เปลี่ยนแปลงให้ "อาเซียน" กลายเป็นองค์กรที่มีสถานะเป็นนิติบุคคลในฐานะที่เป็นองค์กรระหว่างรัฐบาล อีกทั้งยังได้มีการให้สัตยาบันกฎบัตรอาเซียนครบทั้ง 10 ประเทศ เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2551 เป็นผลให้ "กฎบัตรอาเซียน" มีผลบังคับใช้นับตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2551 เป็นต้นไป

สาระสำคัญของกฎบัตรอาเซียนมีด้วยกัน 13 หมวด

  • หมวดที่ 1 ความมุ่งประสงค์และหลักการของอาเซียน
  • หมวดที่ 2 สภาพบุคคลตามกฎหมายของอาเชียน
  • หมวดที่ 3 สมาชิกภาพ (รัฐสมาชิก สิทธิและพันธกรณีของรัฐสมาชิก และการรับสมาชิกใหม่
  • หมวดที่ 4 โครงสร้างองค์กรของอาเซียน
  • หมวดที่ 5 องค์กรที่มีความสัมพันธ์กับอาเซียน
  • หมวดที่ 6 การคุ้มกันและเอกสิทธิ์
  • หมวดที่ 7 กระบวนการตัดสินใจ
  • หมวดที่ 8 การระงับข้อพิพาท
  • หมวดที่ 9 งบประมาณและการเงิน
  • หมวดที่ 10 การบริหารและขั้นตอนการดำเนินงาน
  • หมวดที่ 11 อัตลักษณ์และสัญลักษณ์ของอาเซียน
  • หมวดที่ 12 ความสัมพันธ์กับภายนอก
  • หมวดที่ 13 บทบัญญัติทั่วไปและบทบัญญัติสุดท้าย

อาเซียนส่งผลอย่างไรต่อประเทศไทย ?

อาเซียนส่งผลอย่างไรต่อประเทศไทย
เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าช่วงหลังของปี 2558 ได้มีการเปิดประชาคมอาเซียนอย่างเป็นทางการ ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด คือ เพื่อนบ้านของเราจะเดินทางเข้าออกประเทศไทย เพื่อเข้ามาท่องเที่ยว หรือแม้แต่เข้ามาประกอบอาชีพต่างๆ กันได้อย่างอิสระมากขึ้น ไม่ใช่แค่เพียงประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังสามารถเดินทางเข้าออกไปในอีก 9 ประเทศสมาชิกก็ได้เช่นเดียวกัน ในส่วนของการประกอบอาชีพ คนไทยเองต้องหันกลับมามองที่ตัวเอง ว่าเรามีความสามารถพอที่จะพัฒนาความสามารถให้ทัดเทียมกับเพื่อนบ้านเราได้หรือไม่ ยิ่งในปัจจุบันนี้งานเป็นสิ่งที่หาได้ยาก ความสามารถด้านภาษาที่ 2 คือ ภาษาอังกฤษ เราก็ยังไม่แข็งแรง แต่ใช่ว่าทุกอย่างจะมีแต่ข้อเสีย ในด้านเศรษฐกิจเราก็ยังมีความได้เปรียบต่อเพื่อนบ้านของเรามาก มาดูกันดีกว่าว่าอาเซียนมีความสำคัญด้านเศรษฐกิจอย่างไรต่อประเทศไทยของเราบ้าง
  • ประการที่ 1 การเปิดประชาคมอาเซียนจะทำให้เศรษฐกิจของไทยเรามีมูลค่ารวมกันกว่า 1.8 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐ ซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 9 ของโลก ทำให้เกิดประโยชน์ด้านการค้าขาย ให้คนไทยได้ยืนหยัดได้ด้วยความสง่างาม จากนั้น "ยิ้มสยาม" ก็จะถูกมองเห็นได้เด่นขึ้น มีหน้ามีตา และมีฐานะที่ดีขึ้น
  • ประการที่ 2 ผู้บริโภคมีตัวเลือกในการเลือกซื้อสินค้าที่หลากหลายมากขึ้น ผู้ผลิตสามารถขยับขยายธุรกิจของตนเองได้ง่าย ส่งออกสินค้าได้ในปริมาณที่มากขึ้น ส่งผลให้การค้าขายระหว่างไทยกับอาเซียนคล่องตัว อีกทั้งกำแพงภาษีที่เคยสูงก็จะลดลง เพราะตลาดการค้าใน 10 ประเทศจะรวมกันกลายเป็นตลาดเดียว
  • ประการที่ 3 ตลาดการค้าของไทยเราจะขยายตัวเพิ่มขึ้น จากการเป็นตลาดของคน 67 ล้านคน กลายเป็นตลาดของคนอีก 950 ล้านคน ส่งผลให้ไทยกลายเป็นแหล่งลงทุนที่มีเสถียรภาพ สามารถลงสนามแข่งขันกับจีนและอินเดียเพื่อดึงดูดให้มีผู้มาลงทุนได้มากขึ้น เป็นผลมาจากการผลิตสินในประเทศไทยสามารถส่งออกไปค้าขายยังอีก 9 ประเทศสมาชิกได้เหมือนกับการส่งของไปขายยังต่างจังหวัด
  • ประการที่ 4 การรวมตัวกันเป็นประชาคม จะทำให้มีสังคมขนาดใหญ่ ผลักดันให้เกิดการพัฒนาในด้านเครือข่ายการสื่อสารโทรคมนาคมระหว่างประเทศ เพื่อประโยชน์ในด้านการค้าและการลงทุน อีกทั้งการติดต่อสื่อสาร ได้ไปมาหาสู่ ติดต่อสื่อสารกันจะช่วยให้ประชากรในประชาคมอาเซียนมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน มีความสนิทสนมและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กันมากขึ้น ก่อให้เกิดผลดีต่อสันติสุขในสังคม ก่อเกิดเป็นความเข้าใจอันดี ตลอดจนเกิดความร่วมกันโดยรวม นับเป็นผลทางสร้างสรรค์ให้อีกหลากหลายมิติ
  • ประการที่ 5 ประเทศไทยมีภูมิศาสตร์และทำเลซึ่งตั้งอยู่บนจุดกึ่งกลางภาคพื้นแผ่นดินใหญ่อาเซียน ดังนั้นประเทศไทยย่อมได้รับประโยชน์จากปริมาณการคมนาคมขนส่ง โดยมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มมากขึ้นภายในอาเซียน และระหว่างอาเซียนกับเจียน มากกว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเดียวกัน บริษัทด้านขนส่ง คลังสินค้า และปั๊มน้ำมันจะได้รับประโยชน์อย่างเห็นได้ชัด หากมองกันให้ชัด การเปิดประชาคมอาเซียนอาจจะยังส่งผลทั้งด้านลบและด้านบวกต่อประเทศไทย ขึ้นอยู่ที่พวกเราคนไทยจะเตรียมรับมือกับการเปิดประชาคมนี้อย่างไร

รู้จักสมาชิกอาเซียนดีพอรึยัง ?

แผนที่อาเซียน
เพื่อให้พวกเราได้รู้จักกับประเทศสมาชิกอีก 9 ประเทศ รวมถึงประเทศไทยในด้านต่างๆ ในอาเซียน ให้มากขึ้น คราวนี้ไม่ว่าจะเดินทางไปที่ไหน ถามอะไรก็ตอบได้ ให้สมกับเป็นประชาคมเดียวกัน มีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น ถ้าพร้อมแล้ว .. มาเริ่มกันเลยดีกว่า ..
ประเทศไทย
ประเทศไทย (Thailand)
เมืองหลวง : กรุงเทพมหานคร
ภาษา : ภาษาไทย เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วยชาวไทยเป็นส่วนใหญ่
นับถือศาสนา : พุทธนิกายเถรวาท 95%, อิสลาม 4%
ระบบการปกครอง : ระบบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

จุดแข็ง
  • เป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงคมนาคมด้านต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียน
  • มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรมที่มีชื่อเสียง
ข้อควรรู้
  • ไปศาสนสถานควรแต่งกายเรียบร้อย, ก่อนเข้าอุโบสถต้องถอดรองเท้า
  • ห้ามพระสงฆ์สัมผัสสตรี
  • สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นที่เคารพสัการะ การละเมิดใดๆ ถือเป็นความผิดตามรัฐธรรมนูญ
  • ทักทายกันด้วยการไหว้
  • ถือว่าเท้าเป็นของต่ำ ไม่ควรพาดบนโต๊ะ หรือเก้าอี้ หรือหันทิศทางไปที่ใคร
  • ธงชาติถือเป็นของสูง ไม่ควรนำมากระทำการใดๆ ที่เป็นการเหยียดหยาม
  • การแสดงออกทางเพศในที่สาธารณะ ยังไม่ได้รับการยอมรับในวัฒนธรรมไทย

ประเทศบรูไน ดารุสซาลาม
ประเทศบรูไน ดารุสซาลาม (Brunei Darussalam)
เมืองหลวง : บันดาร์ เสรี เบกาวัน
ภาษา :ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษและจีน
ประชากร : ประกอบด้วย มาเลย์ 66%, จีน11%,อื่นๆ 23%
นับถือศาสนา : อิสลาม 67%, พุทธ 13%, คริสต์ 10%
ระบบการปกครอง : ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

จุดแข็ง
  • การเมืองค่อนข้างมั่นคง
  • รายได้เฉลี่ยต่อคนเป็นอันดับ 2 ในอาเซียน อันดับ 26 ของโลก
  • ผู้ส่งออกและปริมาณสำรองน้ำมันมีมากเป็นอันดับ 4 ในอาเซียน
ข้อควรรู้
  • ประชาชนของประเทศในกลุ่มอาเซียนสามารถทำวีซ่าที่ ตม.ภายในประเทศบรูไนฯ สามารถอยู่ได้นาน 2 สัปดาห์
  • ควรหลีกเลี่ยงเสื้อผ้าสีเหลือง เพราะถือว่าเป็นสีของพระมหากษัตริย์
  • การทักทายจะใช้วิธีจับมือกันเบาๆ และสตรีจะไม่ยื่นมือให้บุรุษจับ
  • การใช้นิ้วชี้ไปที่คนหรือสิ่งของถือว่าไม่สุภาพ แต่จะใช้หัวแม่มือชี้แทน
  • จะไม่ใช้มือซ้ายในการส่งของให้ผู้อื่น
  • สตรีเวลานั่งจะไม่ให้เท้าชี้ไปทางผู้ชายและไม่ส่งเสียงหรือหัวเราะดัง
  • วันหยุดคือวันศุกร์และวันอาทิตย์, วันศุกร์ 12.00-14.00 น.ทุกร้านจะปิด
  • จัดงานเย็นต้องจัดหลัง 2 ทุ่ม
ประเทศกัมพูชา
ประเทศกัมพูชา (Cambodia)
เมืองหลวง : กรุงพนมเปญ
ภาษา : ภาษาเขมร เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษ, ฝรั่งเศส, เวียดนามและจีน
ประชากร : ประกอบด้วย ชาวเขมร 94%, จีน 4%,อื่นๆ 2%
นับถือศาสนา : พุทธ(เถรวาท) เป็นหลัก
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีพระมหากษัตย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ

จุดแข็ง
  • ค่าจ้างแรงงานต่ำที่สุดในอาเซียน
  • มีทรัพยากรธรรมชาติหลากหลายและสมบูรณ์
ข้อควรรู้
  • ผู้ที่เดินทางเข้ากัมพูชา และประสงค์จะอยู่ทำธุรกิจเป็นระยะเวลาเกิน 3 เดือน ควรฉีดยาป้องกันโรคไทฟอยด์ และไวรัสเอและบี
  • เพื่อนผู้ชายจับมือกัน ถือเป็นเรื่องปกติ
  • ผู้หญิงห้ามแต่งตัวเซ็กซี่, ผู้ชายไว้ผมยาวจะมีภาพลักษณ์นักเลง
  • ห้ามจับศีรษะ คนกัมพูชาถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่สุดของร่างกาย
  • สบตามากเกินไป ถือว่าไม่ให้เกียรติ

ประเทศอินโดนีเซีย
ประเทศอินโดนีเซีย (Indonesia)
เมืองหลวง : จาการ์ตา
ภาษา : ภาษาอินโดนีเซีย เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วยชนพื้นเมืองหลายกลุ่ม มีภาษามากกว่า 583 ภาษา ร้อยละ 61 อาศัยอยู่บนเกาะชวา
นับถือศาสนา : อิสลาม 87%, คริสต์ 10%
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยที่มีประธานาธิบดีเป็นประมุข และหัวหน้าฝ่ายบริหาร

จุดแข็ง
  • มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  • มีจำนวนประชากรมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ข้อควรรู้
  • ไม่ควรใช้มือซ้ายในการรับ-ส่งของ คนมุสลิมอินโดนีเซียถือว่ามือซ้ายไม่สุภาพ
  • นิยมใช้มือกินข้าว
  • ไม่ควรชี้คน หรือสิ่งของด้วยนิ้วชี้ แต่ให้ใช้นิ้วโป้งแทน
  • ไม่ควรจับศีรษะคนอินโดนีเซียรวมทั้งการลูบศีรษะเด็ก
  • การครอบครองยาเสพติด อาวุธ หนังสือรูปภาพอนาจาร มีบทลงโทษหนัก อาทิ การนำเข้าและครอบครองยาเสพติดมีโทษถึงประหารชีวิต
  • บทลงโทษรุนแรงเกี่ยวกับการค้าและส่งออกพืชและสัตว์กว่า 200 ชนิด จึงควรตรวจสอบก่อนซื้อหรือนำพืชและสัตว์ออกนอกประเทศ
  • มอเตอร์ไซค์รับจ้างมีมิเตอร์
  • งานศพใส่ชุดสีอะไรก็ได้

ประเทศลาว
ประเทศลาว (Laos)
เมืองหลวง : นครหลวงเวียงจันทร์
ภาษา : ภาษาลาว เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วย ชาวลาวลุ่ม 68%, ลาวเทิง 22%, ลาวสูง 9% รวมประมาณ 68 ชนเผ่า
นับถือศาสนา : 75% นับถือพุทธ, นับถือผี 16%
ระบบการปกครอง : สังคมนิยมคอมมิวนิสต์ (ทางการลาวใช้คำว่า ระบบประชาธิปไตยประชาชน)

จุดแข็ง
  • ค่าจ้างแรงงานต่ำอันดับ 2 ในอาเซียน
  • การเมืองมีเสถียรภาพ
ข้อควรรู้
  • ลาว มีตัวอักษรคล้ายของไทย ทำให้คนไทยอ่านหนังสือลาวได้ไม่ยากนัก ส่วนคนลาวอ่านหนังสือไทยได้คล่องมาก
  • ลาวขับรถทางขวา
  • ติดต่อราชการต้องนุ่งซิ่น
  • เดินผ่านผู้ใหญ่ต้องก้มหัว
  • ถ้าเพื่อนคนลาวเชิญไปพักที่บ้านห้ามให้เงิน
  • อย่าซื้อน้ำหอมให้กัน
  • ที่ถูกต้องหากคนลาวที่ให้พัก ต้องแจ้งผู้ใหญ่บ้าน
  • เข้าบ้านต้องถอดรองเท้า และถ้าคนลาวเสิร์ฟน้ำจะต้องดื่ม

ประเทศมาเลเซีย
ประเทศมาเลเซีย (Malaysia)
เมืองหลวง : กรุงกัวลาลัมเปอร์
ภาษา : ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษและจีน
ประชากร : ประกอบด้วย มาเลย์ 40%, จีน33%, อินเดีย 10%, ชนพื้นเมืองเกาะบอร์เนียว 10%
นับถือศาสนา : อิสลาม 60%, พุทธ 19%, คริสต์ 11%
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา

จุดแข็ง
  • มีปริมาณสำรองน้ำมันมากเป็นอันดับ 3 ในเอเชียแปซิฟิค
  • มีปริมาณก๊าซธรรมชาติมากเป็นอันดับ 2 ในเอเชียแปซิฟิค
ข้อควรรู้
  • ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามจะได้รับสิทธิพิเศษ คือ เงินอุดหนุนทางด้านการศึกษา สาธารณสุข การคลอดบุตรงานแต่งงานและงานศพ
  • มาเลเซียมีปัญหาประชากรหลากหลายเชื้อชาติ ชาติพันธุ์ในมาเลเซียประกอบด้วยชาวมาเลย์ กว่าร้อยละ 40 ที่เหลืออีกกว่าร้อยละ 33 เป็นชาวจีนร้อยละ10 เป็นชาวอินเดีย และ อีกร้อยละ 10 เป็นชนพื้นเมืองบนเกาะบอร์เนียว
  • ใช้มือขวาเพียงข้างเดียวในการรับประทานอาหาร และรับส่งของ
  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นเรื่องต้องห้าม

ประเทศเมียนมาร์ หรือพม่า
ประเทศเมียนมาร์ หรือพม่า (Myanmar)
เมืองหลวง : เนปีดอ (Naypyidaw)
ภาษา : ภาษาพม่า เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วยเผ่าพันธุ์ 135 มี 8 เชื้อชาติหลักๆ 8 กลุ่ม คือ พม่า 68%, ไทยใหญ่ 8%, กระเหรี่ยง 7%, ยะไข่ 4% จีน 3% มอญ 2% อินเดีย 2%
นับถือศาสนา : นับถือพุทธ 90%, คริสต์ 5% อิสลาม 3.8%
ระบบการปกครอง : เผด็จการทางทหาร ปกครองโดยรัฐบาลทหารภายใต้สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ

จุดแข็ง
  • มีพรมแดนเชื่อมต่อกับจีน และอินเดีย
  • ค่าจ้างแรงงานต่ำเป็นอันดับ 3 ในอาเซียน
  • มีปริมาณก๊าซธรรมชาติเป็นจำนวนมาก
ข้อควรรู้
  • ไม่ควรพูดเรื่องการเมือง กับคนไม่คุ้นเคย
  • เข้าวัดต้องถอดรองเท้า ถุงเท้า
  • ห้ามเหยียบเงาพระสงฆ์
  • ให้นามบัตรต้องยื่นให้สองมือ
  • ไม่ควรใส่กระโปรงสั้น กางเกงขาสั้น ในสถานที่สาธารณะและศาสนสถาน
  • ผู้หญิงชอบทาทะนาคา (ผู้ชายก็ทาด้วย) ผู้ชายชอบเคี้ยวหมาก

ประเทศฟิลิปปินส์
ประเทศฟิลิปปินส์ (Philippines)
เมืองหลวง : กรุงมะนิลา
ภาษา : ภาษาฟิลิปิโน และภาษาอังกฤษ เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็น สเปน, จีนฮกเกี้ยน, จีนแต้จิ๋ว ฟิลิปปินส์ มีภาษาประจำชาติคือ ภาษาตากาล็อก
ประชากร : ประกอบด้วย มาเลย์ 40%, จีน33%, อินเดีย 10%, ชนพื้นเมืองเกาะบอร์เนียว 10%
นับถือศาสนา : คริสต์โรมันคาทอลิก 83% คริสต์นิกายโปรเตสแตนต์, อิสลาม 5%
ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยแบบประธานาธิบดีเป็นประมุขและหัวหน้าฝ่ายบริหาร

จุดแข็ง
  • แรงงานทั่วไป ก็มีความรู้สื่อสารภาษาอังกฤษได้
ข้อควรรู้
  • การเข้าไปประกอบธุรกิจในฟิลิปปินส์ในลักษณะต่างๆ เช่น การลงทุนร่วมกับฝ่ายฟิลิปปินส์จำเป็นต้องมีการศึกษาข้อมูลให้ละเอียด โดยเฉพาะในด้านกฎหมาย การจดทะเบียนภาษี และปัญหาทางด้านแรงงาน เป็นต้น
  • เท้าสะเอว หมายถึง ท้าทาย, เลิกคิ้ว หมายถึง ทักทาย
  • ใช้ปากชี้ของ
  • กินข้าวบ้านเพื่อนสามารถห่อกลับได้ แต่ควรมีของฝากให้เขาด้วย
  • ตกแต่งบ้าน 2 เดือน ต้อนรับคริสต์มาส

ประเทศสิงคโปร์
ประเทศสิงคโปร์ (Singapore)
เมืองหลวง : สิงคโปร์
ภาษา : ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ รองลงมาคือจีนกลาง ส่งเสริมให้พูดได้ 2 ภาษาคือ จีนกลาง และให้ใช้อังกฤษ เพื่อติดต่องานและชีวิตประจำวัน
ประชากร : ประกอบด้วยชาวจีน 76.5%, มาเลย์ 13.8%, อินเดีย 8.1%
นับถือศาสนา : พุทธ 42.5%, อิสลาม 14.9%, คริสต์ 14.5%, ฮินดู 4%, ไม่นับถือศาสนา 25%
ระบบการปกครอง : สาธารณรัฐ (ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีสภาเดียว) โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุข และนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร

จุดแข็ง
  • รายได้เฉลี่ยต่อคน เป็นอันดับ 1 ในอาเซียน และอันดับ 15 ของโลก
  • แรงงานมีทักษะสูง
ข้อควรรู้
  • หน่วยราชการเปิดทำการวันจันทร์ – ศุกร์ ระหว่างเวลา 08.30 น.-13.00 น. และ 14.00 น. – 16.30 น. และวันเสาร์ เปิดทำการระหว่างเวลา 08.00 น. – 13.00 น.
  • การหลบหนีเข้าสิงคโปร์และประกอบอาชีพเร่ขายบริการผิดกฎหมาย จะถูกลงโทษอย่างรุนแรง
  • การลักลอบนำยาเสพติด อาวุธปืนและสิ่งผิดกฎหมายอื่นๆ จะได้รับโทษอย่างรุนแรงถึงขั้นประหารชีวิต
  • ขึ้นบันไดเลื่อนให้ชิดซ้าย
  • ห้ามทิ้งขยะเรี่ยราด, ห้ามเก็บผลไม้ในที่สาธารณะ
  • ผู้สูงอายุทำงาน ถือเป็นเรื่องปกติ

ประเทศเวียดนาม
ประเทศเวียดนาม (Vietnam)
เมืองหลวง : กรุงฮานอย
ภาษา : ภาษาเวียดนาม เป็นภาษาราชการ
ประชากร : ประกอบด้วยชาวเวียด 80%, เขมร 10%
นับถือศาสนา : พุทธนิกายมหายาน 70%, คริสต์ 15%
ระบบการปกครอง : ระบบสังคมนิยม โดยพรรคคอมมิวนิสต์เป็นพรรคการเมืองเดียว

จุดแข็ง
  • มีปริมาณสำรองน้ำมันดิบมากเป็นอันดับ 2 ในเอเชียแปซิฟิค
ข้อควรรู้
  • หน่วยงานราชการ สำนักงาน และองค์กรให้บริการสาธารณสุข เปิดทำการระหว่างเวลา 08.00 น. – 16.30 น. ตั้งแต่วันจันทร์ – ศุกร์
  • เวียดนามไม่อนุญาตให้ถ่ายภาพอาคารที่ทำการต่างๆ ของรัฐ
  • คดียาเสพติดการฉ้อโกงหน่วยงานของรัฐมีโทษประหารชีวิต
  • ตีกลองแทนออดเข้าเรียน
  • ชุดนักเรียนหญิงเป็นชุดอ่าวหญ่าย
  • คนภาคเหนือไม่ทานน้ำแข็ง
  • ไม่ถ่ายรูป 3 คนอย่างเด็ดขาด เพราะถือว่าจะทำให้เบื่อกัน หรือแยกกันหรือใครคนใดเสียชีวิต
  • ต้องเชิญผู้ใหญ่ก่อนทานข้าว
หวังหว่าเรื่องราวเกี่ยวกับอาเซียน ในด้านต่างๆ ที่เล่ามา น่าจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อผู้ที่ได้อ่าน การเปิดประชาคมอาเซียนยังเป็นแค่เพียงช่วงเวลาเริ่มต้น สิ่งเหล่านี้ไม่อยากให้คนไทยแค่เพียงจำได้ แต่อยากให้เข้าใจในเหตุผลหลายๆ อย่าง ว่าทำไมประเทศไทยถึงควรเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในประชาคมอาเซียน อย่างที่กล่าวข้างต้น ถึงแม้ว่าจะมีทั้งข้อดีและข้อเสียปะปนกันไป แต่เชื่อว่าคนไทยก็ยังมีศักยภาพที่จะช่วยผลักดันความสามารถของประเทศเรา ทั้งเรื่องของสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมให้ขับเคลื่อนไปทัดเทียมกับประเทศสมาชิกอื่นๆ ได้อย่างไม่ต้องอายเลย
ถึงอย่างไรก็ตาม ข้อมูลเหล่านี้อาจไม่มีความหมาย หากเราอยากปราศจากการเตรียมตัวที่ดี ให้ระลึกไว้เสมอว่าตอนนี้ความมีอิสระอยู่ใกล้ตัวเรามากกว่าที่เคย ผู้คนในอาเซียนสามารถเดินทางไปมาหาสู่กันได้อย่างเสรี งานดีๆ ก็เช่นเดียวกัน ถ้าหากเราไร้ซึ่งความสามารถ ระวังนะ ! จะถูกแย่งชิงไปเสียก่อน

ภูเขาไฟบาตูร์

ภูเขาไฟบาตูร์ (Batur) เกิดขึ้นหลังจากการยุบตัวของภูเขาไฟลูกใหญ่ แล้วก่อเกิดเป็นภูเขาไฟบาตูร์อยู่ตรงกลาง และมีทะเลสาบบาตูร์เกิดขึ้นใกล้ๆภูเขา...